บทความทางการแพทย์

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด


โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเป็นโรคเดียวกัน และเป็นโรคหัวใจที่พบบ่อยมากในปัจจุบัน โดยสาเหตุเกิดจากมีภาวะแข็งตัวของผนังหลอดเลือดแดง (Arteriosclerosis) คล้ายๆ กับสนิมที่เกาะอยู่ภายในผนังท่อน้ำ นานๆ เข้าก็ทำให้ท่อตัน แต่การแข็งตัวของผนังหลอดเลือดนั้นเกิดจากมีการสะสมของไขมันและหินปูน รวมทั้งเซลล์ต่างๆ ที่ผนังหลอดเลือดแดงชั้นในสุด


การสะสมนี้จะเกิดอย่างค่อยเป็นค่อยไป เมื่อมีการสะสมมากคราบเหล่านี้จะพอกตัวอย่างหนาขึ้นๆ จึงทำให้รูท่อหลอดเลือดหัวใจตีบแคบลง ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้น้อย ซึ่งจะทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก (angina) ถ้าการอุดตันหลอดเลือดแดงที่หัวใจเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน (Heart Attack) ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่สำคัญ เพราะมักจะเกิดขึ้นโดยไม่ทันรู้ตัว
ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มีหลอดเลือดหัวใจตีบจะไม่ทราบมาก่อนว่าตนเองมีความผิดปกติ จนกระทั่งมีความผิดปกติ และมีอาการจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดมากแล้ว หรือมีกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน เนื่องจากจะเกิดอาการขึ้นอบ่างช้าๆ เป็นระยะเวลานาน

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบมี ดังนี้

ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้

- เพศ เพศชายทีความเสียงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดแดงหัวใจตีบตันมากกว่าเพศหญิง อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคของเพศหญิงจะเพิ่มขึ้นในหญิงวัยหมดประจำเดือน

- ปัจจัยทางพันธุกรรมและเชื้อชาติ ถ้ามีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดแดงหัวใจตีบตัน จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคสูงกว่าบุคคลที่ไม่มีประวัติในครอบครัว

- อายุ เพศชายที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป แต่ปัจจุบัน 35 ปีขึ้นไปก็เริ่มเสี่ยงแล้ว เพราะมีปัจจัยแวดล้อมเสริม เช่น กินเหล้า สูบบุหรี่ อดนอน กินอาหารฟาสต์ฟู้ดที่มีไขมันมาก ส่วนผู้หญิงจะมีอายุมากกว่า 55 ปีขึ้น ไปเนื่องจากดูแลตัวเองดี และมักเลือกกินอาหารเพราะกลัวอ้วน และมีฮอร์โมนเพศหญิงช่วยคุมไขมัน

ปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ - ภาวะความดันโลหิตสูง
- โรคเบาหวาน
- ภาวะไขมันในเลือดสูง
- บุหรี่
- โรคอ้วน
- การไม่ออกกำลังกาย
- โรคเครียด
- การพักผ่อนอย่างเพียงพอ

อาการของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการ หรือมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก ซึ่งความรุนแรงอาจแตกต่างกันไป บางรายอาจมีอาการหายใจไม่สะดวกหรือเหนื่อยง่าย เนื่องจากกล้ามเนื้อหัวใจต้องการเลือด (ที่มีออกซิเจนและสารอาหาร) ที่เพียงพอต่อการทำหน้าที่ของเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจผ่านทางหลอดเลือดแดงไปเลี้ยงหัวใจ

มื่อหลอดเลือดแดงที่หัวใจตีบแคบลง เลือดจะไม่สามารถถูกส่งไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้อย่างเพียงพอ เพราะขณะหัวใจเต้นเร็วขึ้นหรือความดันโลหิตสูงขึ้น (คือช่วงเวลาที่เราออกแรง หิว อิ่ม โกรธ โมโห ตกใจ หรือ ฝันร้าย ฯลฯ ) ต้องการเลือดมากขึ้น จึงเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ซึ่งทำให้เกิดผลได้หลายอย่างคือ

- ไม่มีอาการใดๆ กลุ่มผู้ป่วยที่ไม่เคยมีอาการทำให้เสียชีวิตกะทันหัน เช่น เล่นกีฬาแล้วเสียชีวิต ส่วนใหญ่เป็นผู้ชายวัยทำงานที่ร่างกายแข็งแรงดีไม่เคยมีโรค จึงต้องเฝ้าระวังเพราะคนที่มีอาการจะทราบและดูแลตัวเองดี แต่คนที่ไม่มีอาการจะไม่ค่อยสังเกตตัวเองจึงเสียชีวิตอย่างกะทันหัน โดย ผู้ที่มีความเสี่ยงโรคนี้ได้แก่ ผู้ที่มีโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง สูบบุหรี่ เครียด ขาดการออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอ

- เหนื่อยง่ายหรือหายใจไม่สะดวกเวลาออกแรง

- บวมบริเวณปลายเท้าหรือข้อเท้าทั้งสองข้าง

- ภาวะหัวใจล้มเหลว ซึ่งเกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวได้เบาลงเพราะขาดเลือด (เหมือนคนขาดอาหารที่ไม่ค่อยมีแรง) หรืออาจเกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ทำให้หัวใจไม่สามารถบีบตัวเพื่อส่งเลือดไปเลี้ยงร่ายการได้ตามต้องการ อาจมีการนอนราบไม่ได้

- กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน เกิดจากมีการอุดตันอย่างกะทันหันภายในหลอดเลือดแดงที่หัวใจ ซึ่งมักมีสาเหตุมจากการมีลิ่มเลือดอุดตันในบริเวณที่มีรอยตีบอยู่ก่อนแล้ว กล้ามเนื้อหัวใจส่วนที่ถูกเลี้ยงด้วยหลอดเลือดเส้นนั้นจะตายไป ผู้ป่วยมักมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกรุนแรงและนานกว่าปกติ


โรคหลอดเลือดแดงหัวใจตีบตันมีหลายสาเหตุ ทั้งหมดจะทำให้เกิดภาวะผนังหลอดเลือดแดงแข็ง (Arteriosclerosis) ก่อน โดยหลอดเลือดแดงมีหน้าที่ขนส่งเลือดที่มีออกซิเจนปริมาณที่สูงออกจาหัวใจเพื่อไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย รวมทั้งเลี้ยงตัวเองที่กล้ามเนื้อหัวใจ หลอดเลือดแดงที่มีสุขดี ผนังหลอดเลือดจะเรียบยืดหยุ่นได้ และสามารถขยายเพื่อรับปริมาณเลือดที่เพิ่มขึ้นได้เมื่อจำเป็น เช่น เวลาออกแรง


ภาวะหลอดแดงแข็งเกิดจากมีการสะสมของไขมัน หินปูนและเซลล์ต่างๆ ที่ผนังด้านในของหลอดเลือด สามารถเกิดได้กับหลอดแดงทั่วร่างกาย กระบวนการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งจะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไป โดยจะเกิดขึ้นตั้งแต่วัยเด็กและเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ ตามอายุที่เพิ่มขึ้น และมักเกิดขึ้นในรายที่มีระดับ คอเลสเตอรอลชนิด LDL สูงกว่าปกติ บริเวณด้านในผนังหลอดเลือดแดงที่มีการแข็งตัวนั้นมักจะเกิดรอยบาดแผลหรือผิวฉีกขาดได้ง่าย ซึ่งเมื่อมีอาการบาดเจ็บของผนังด้านในหลอดเลือดแดงเกิดขึ้น จะทำให้ร่างกายสร้างลิ่มเลือดมาอุดที่บริเวณรอยแผล ทำให้หลอดเลือดแดงอุดตันได้ บริเวณด้านในผนังหลอดเลือดแดงที่มีการแข็งตัวนั้นมักจะเกิดรอยบาดแผลหรือผิวฉีกขาดได้ง่าย ซึ่งเมื่อมีอาการบาดเจ็บของผนังด้านในหลอดเลือดแดงเกิดขึ้น จะทำให้ร่างกายสร้างลิ่มเลือดมาอุดที่บริเวณรอยแผล ทำให้หลอดเลือดแดงอุดตันได้


ภาวะไขมันในเลือดสูงอาจเกิดจากความผิดปกติพันธุกรรมได้ แต่ส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ เช่น รับประทานอาหารที่มีไขมันสูงเป็นประจำ นอกจากนั้นโรคความดันโลหิตสูง การสูบบุหรี่ รวมทั้งโรคอ้วนและการไม่ออกกำลังกาย ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของภาวะหลอดเลือดแข็งและโรคหลอดเลือดหัวใจตีบด้วย


โรคหลอดเลือดแดงแข็งสามารถเกิดขึ้นกับหลอดเลือดแดงบริเวณอื่นๆได้ โดยเฉพาะหลอดเลือดแดงในสมองหรือหลอดเลือดแดงบริเวณคอ อาจทำให้เกิดโรคอัมพฤกษ์หรืออัมพาตครึ่งซีกหรือหลอดเลือดแดงที่ขา ซึ่งอาจทำให้มีอาการเจ็บปวดที่ขาหรือบริเวณน่องเวลาเดินร่วมด้วย