แพทย์หญิงกิตติกมล วงศ์ไพศาลสิน แนะนำการใส่คอนแทคเลนส์มีโอกาสเสี่ยงกับการติดเชื้อโควิด-19 โดยเฉพาะช่วงที่มีการแพร่ระบาด ที่มีโอกาสติดเชื้อไวรัสผ่าน 3 กลไก ได้แก่

  1. มือสัมผัสไวรัสเข้าสู่ดวงตาโดยตรงจากการถอด การใส่ คอนแทคเลนส์
  2. ไวรัสจากละอองฝอย น้ำลาย ไอ จาม จากผู้ติดเชื้อที่อยู่ในระยะบริเวณ 1.5 เมตร  มาเกาะที่ คอนแทคเลนส์
  3. ไวรัสเข้าผ่านทางเยื่อบุตาดวงตาโดยตรง
  4. ที่สำคัญคือไม่สัมผัส ตา จมูก ปาก และ ล้างมือบ่อยๆ

สามารถฟังพอดแคสต์ช่องทางอื่นๆ ได้ที่นี่

5 คำแนะนำ สำหรับผู้ที่มีความจำเป็นต้องใส่คอนแทคเลนส์

  • ล้างมือให้สะอาด ให้ทั่ว ฟอกสบู่ อย่างน้อย 20 วินาที ทั้งก่อนใส่ เปลี่ยนมาใส่อีกข้าง และล้างมืออีกครั้ง หลังใส่คอนแทคเลนส์เสร็จแล้ว หลังล้างมือก็ควรเช็ดมือให้แห้งด้วยกระดาษเช็ดมือที่สะอาด หรือหากใช้เจลแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ ต้องรอให้แห้งก่อนสัมผัสคอนแทคเลนส์ หรือดวงตา
  • ควรใช้คอนแทคเลนส์เป็นแบบรายวัน (ใช้แล้วทิ้ง) เพื่อลดสิ่งสะสมที่ปนเปื้อนให้น้อยที่สุด และไม่ควรใส่เกินวันหมดอายุของคอนแทคเลนส์ และไม่ใส่คอนแทคเลนส์นอนค้างคืน เพราะจะเพิ่มการระคายเคืองและเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
  • หากใส่คอนแทคเลนส์ แบบรายสัปดาห์ หรือรายเดือน ควรล้างทำความสะอาดอย่างถูกวิธี ด้วยน้ำยาทำความสะอาดเฉพาะที่ได้มาตรฐาน การถูก่อน – ล้างด้วยน้ำยา – แช่ด้วยน้ำยาอย่างน้อย 6 ชั่วโมง โดยไม่มีการใช้น้ำก๊อก น้ำเกลือ หรือน้ำลาย ในส่วนของน้ำยาล้างคอนแทคเลนส์ จะมีกลุ่มที่ได้รับการพิสูจน์ว่าสามารถฆ่าเชื้อโควิด-19 ได้แก่ กลุ่มไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์เบสซิสเต็ม แต่ห้ามนำน้ำยากลุ่มนี้เข้าสู่ดวงตาโดยตรง เนื่องจากน้ำยากลุ่มนี้จะทำให้เกิดการระคายเคืองได้ หรือน้ำยามัลติพรอโพสโซลูชั่นที่เป็นที่นิยมในประเทศไทย แต่ยังไม่มีหลักฐานหรือการพิสูจน์แน่ชัดว่าฆ่าเชื้อไวรัสโควิด-19ได้หรือไม่ กล่องใส่คอนแทคเลนส์ ควรล้างด้วยน้ำยาล้างคอนแทคเลนส์ และควรตากให้แห้งบนกระดาษทิชชู่ เปลี่ยนน้ำยาแช่คอนแทคเลนส์ทุกวัน และเปลี่ยนตลับใส่คอนแทคเลนส์ให้บ่อยขึ้น อาจใช้เม็ดเอนไซน์สลายคราบโปรตีนสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
  • ผู้ที่ใส่คอนแทคเลนส์ หากจำเป็นต้องเข้าไปที่ชุมชน เสี่ยง หรือที่มีคนหนาแน่น ควรใส่โพรเทคทีฟกลาส หรือใส่ Face Shield อีกชั้น โดยเลือกอุปกรณ์ที่คลุมได้รอบด้าน อาจจะคลุมด้านข้างด้วยจะดี วัสดุโพลีคาร์โบเนตจะสามารถป้องกันได้ หยอดน้ำตาเทียมที่เป็นแบบ Single Dose (ใช้แล้วทิ้ง) ระหว่างวัน ควรงดทาสีเล็บและงดไว้เล็บยาวเนื่องจากเป็นแหล่งสะสมไวรัส
  • หากมีอาการป่วยเป็นหวัด เป็นไข้ ไอจาม ควรงดการใส่คอนแทคเลนส์ไปก่อน

วิธีทดสอบตนเองก่อนใส่คอนแทคเลนส์

  • ให้ส่องกระจกก่อนใส่คอนแทคเลนส์ ว่ามีอาการตาแดง หรือมีน้ำตาไหล
  • ทดสอบการมองเห็นโดยการปิดตาทีละข้าง ดูระดับการมองเห็นว่ายังเหมือนเดิมหรือไม่ เทียบกันสองข้าง
  • เมื่อใส่คอนแทคเลนส์แล้ว ทดสอบว่าสบายตาหรือไม่ หากมีอาการระคายเคือง ให้ถอดออกทันที

อีกทางเลือกในการแก้ไขสายตาโดยเลเซอร์ปรับความโค้งกระจกตา ที่เรียกว่า FEMTO LASIK, PRK, Trans-PRK ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ที่มีการแก้ไขปัญหาสายตาในยุค New Normal

Start typing and press Enter to search