ปัจจุบันในประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นการให้ความสนใจในด้านโภชนาการผู้สูงอายุ จึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลย เพราะจะทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่แข็งแรง  ลดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย ซึ่งปัญหาด้านโภชนาการในผู้สูงอายุที่พบบ่อยๆ มักส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างชัดเจน เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรงและลีบ น้ำหนักลด ความจำเสื่อม อารมณ์แปรปรวน เป็นต้น

ผู้สูงอายุควรรับประทานอะไร ?

ผู้สูงอายุแต่ละท่านมีปัญหาด้านสุขภาพไม่เหมือนกัน เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรงแขนขาลีบ ความจำเสื่อม กระดูกบางพรุน โลหิตจาง เป็นต้น การจัดเตรียมอาหารจึงต้องคำนึงถึงสุขภาพเดิมที่เป็นอยู่ของผู้สูงอายุด้วย ซึ่งพลังงานที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุคือ 1,000 – 1,500 แคลอรี / วัน  โดยทุกมื้อควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ มีผักผลไม้เพื่อเพิ่มกากอาหาร สารอาหารสำหรับผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุควรลดอาหารประเภทใดและเพิ่มอะไร ?

แน่นอนว่าเมื่ออายุมากขึ้น อวัยวะต่างๆ เริ่มเสื่อมสมรรถภาพลงไปตามธรรมชาติ ซึ่งรวมไปถึงระบบเผ่าผลาญด้วยที่ทำงานได้น้อยลง ระบบการย่อยอาหารเสื่อมประสิทธิภาพ

อาหารผู้สูงอายุควรงดเว้น ควรงดอาหารที่ย่อยยาก เช่น แป้ง ไขมัน จึงไม่แนะนำให้ผู้สูงอายุรับประทานอาหารประเภทฟาสฟู๊ตบ่อยครั้งเพราะให้พลังงานที่มากเกินพอดี อาจส่งผลให้ น้ำตาลในเลือดสูง และน้ำหนักเพิ่ม ส่งผลให้มีปัญหาด้านสุขภาพตามมากมายภายหลัง

นอกจากนี้ควรงดอาหารเผ็ด รสจัด รสเค็ม โซเดียมสูงด้วย ซึ่งผู้สูงอายุ ควรได้รับโซเดียมเพียง 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน หรือประมาณ1-2 ช้อนชา มีมากในอาหารประเภทบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารกระป๋อง ซึ่งถ้าหากผู้สูงอายุได้รับประทานโซเดียมในปริมาณที่มากเกินไป อาจจะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นกว่าปกติ

อาหารที่ควรเพิ่มให้ผู้สูงอายุ : ผู้ดูแลควรเตรียมอาหารที่มีกากใยสูงในทุกมื้อ เช่น  ผัก ผลไม้ ข้าวโอ๊ต ถั่วชนิดต่าง ๆ เพื่อช่วยรักษาระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายให้สมดุล และยังอุดมไปด้วยแร่ธาตุ วิตามิน และทำให้ควบคุมน้ำหนักได้ง่าย ที่สำคัญคือให้ผู้สูงอายุดื่มน้ำอย่างเพียงพอ คือ 6-8 แก้วต่อวัน ควรหลีกเลี่ยงการทานน้ำอัดลม ชา กาแฟ เพราะอาจทำให้ท้องผูก

สารอาหารสำคัญที่ผู้สูงอายุต้องการ

1.พลังงาน ผู้สูงอายุมีความต้องการพลังงานน้อยกว่าวัยหนุ่มสาว เนื่องจากมีเนื้อเยื่อที่ค่อนข้างปราศจากไขมัน และกิจกรรมต่างๆ ที่ต้องทำลดลง โดยผู้สูงอายุทั้งชายและหญิงควรได้รับพลังงานต่อวันไม่เกิน 2,250 และ1,850 กิโลแคลอรี ทั้งนี้ขึ้นอยากับกิจกรรมที่ทำสารอาหารให้พลังงาน ได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต

2. โปรตีน นับเป็นสารอาหารที่เสริมสร้างและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย เหมาะกับทุกเพศทุกวัย สำหรับผู้สูงอายุ คควรได้รับโปรตีนอย่างเพียงพอ ซึ่งได้จากเนื้อสัตว์ ( ควรหลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ที่ติดมัน) ถั่วเมล็ดแห้ง ไข่ น้ำนม เนื้อปลา แต่ในกรณีที่มีปัญหาไขมันในเลือดสูงควรเลือกรับประทานแต่ไข่ขาว

3. คาร์โบไฮเดรต เป็นอีกสารอาหารจำเป็น แหล่งสารอาหารได้จากข้าว แป้ง น้ำตาล เผือก และมัน ผู้สูงอายุสามารถรับประทานอาหารเหล่านี้ได้ทุกวันเป็นอาหารหลัก แต่ควรลดน้ำตาลลง เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงให้ผู้สูงอายุป่วยเป็นโรคเบาหวานได้

4. วิตามิน เกลือแร่ ยังเป็นกลุ่มอาหารที่สำคัญสำหรับผู้สูงอายุ โดยมีมากในอาหารจำพวกผักและผลไม้ มีกากใยช่วยให้ระบบขับถ่ายดี ในวัยสูงอายุ ผู้สูงอายุยังต้องการ ธาตุเหล็ก วิตามินเอ วิตามีนบี 12 วิตามินซี  วิตามินดี วิตามินอี   โพแทสเซียม แมกนีเซียม เป็นต้น ดังนั้น ผู้สูงอายุ ควรเลือกรับประทานอาหารประเภทผัก ผลไม้ เช่น กล้วยสุก แตงโม มะม่วงสุก กล้วย ส้ม ฝรั่ง ผลไม้แห้ง มะเขือเทศ

5. แร่ธาตุ  ในส่วนของแร่ธาตุ โดยเฉพาะ “แคลเซียม” ถือว่าจำเป็นอยู่มากในผู้สูงอายุ และตัวผู้สูงอายุเองมักขาดแคลเซียมได้ง่ายกว่าคนในวัยอื่นๆ ส่งให้กระดูกเปราะ กระดูกเสื่อมและกระดูกหักได้ง่าย  อาจจะมีอาการเป็นตะคริวหรือชาที่มือและเท้า อาหารที่มีแคลเซียมมาก เช่น นม ผักคะน้า ปู ปลาแห้ง กระดูกปลาป่น กุ้งแห้ง เป็นต้น

6. ไขมัน อาหารประเภทไขมันยังคงมีความจำเป็นสำหรับผู้สูงอายุ แต่ควรหลีกเลี่ยงไขมันจากสัตว์ เช่น หนังไก่ หนังหมู ไข่แดง อาหารกลุ่มนี้จะให้ไขมันสูงมาก ซึ่งถ้ารับประทานมากเกินไปจะเป็นผลเสียต่อร่างกายอย่างมาก ทำให้หลอดเลือดแข็ง และเลือดไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงอวัยวะที่สำคัญลดลง เช่น สมอง และหัวใจ ควรใช้น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกทานตะวัน หรือน้ำมันข้าวโพด ในการปรุงอาหาร เพราะเป็นน้ำมันพืชที่มีกรดไลโนเลอิก ซึ่งเป็นกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย สามารถควบคุมระดับไขมันในเลือด เท่ากับเป็นการช่วยลดภาวะหลอดเลือดแข็ง และโรคหัวใจขาดเลือดไขมันได้

ปัญหาโภชนาการในผู้สูงอายุ ที่ผู้ดูแลควรรู้

ปัญหาที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ คือ ภาวะบกพร่องทางอาหาร หรือ โรคขาดสารอาหาร โดยมีสาเหตุมาจากการรับประทานที่ไม่เหมาะสม  พฤติกรรมที่ไม่มีความอยากอาหาร  ประกอบกับระบบการย่อยและดูดซึมเสื่อมสภาพ และอารมณ์ที่ผันแปร ว้าเหว่ วิตกกังวล ทำให้ความอยากอาหารลดลง ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้ว แน่นนอนว่าส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย ร่างกายอ่อนแอ่ อ่อนเพลีย ไม่มีแรง แขนขาลีบ และเกิดโรคต่างๆ แทรกซ้อนได้ง่าย

ดังนั้นผู้ดูแลควรจัดเตรียมอาหารให้เหมาะสม เช่น จัดอาหารให้มีสีสัน กลิ่น รส น่ารับประทาน อาหารควรอุ่นร้อนพอควร และควรให้ผู้สูงอายุบริโภคอาหารพร้อมหน้าพร้อมตาครอบครัว เพื่อให้รับประทานอาหารให้มากขึ้น  ในกรณีทานน้อน สามารถเพิ่มจำนวนมื้ออาหาร เช่น แบ่งเป็นวันละ 5-6 มื้อ เพื่อป้องกันการแน่นท้อง โดยมื้อกลางวันเป็นอาหารหลังและเพิ่มมื้อสายมื้อบ่ายเข้ามาเป็นต้น

ผู้สูงอายุเบื่ออาหาร ทานอาหารเสริมได้ไหม

การรับประทานอาหารเสริมสำหรับผู้สูงอายุสามารถให้รับประทานได้ เพื่อช่วยเรื่อง ระบบภูมิคุ้มกัน ระบบประสาท กล้ามเนื้อ หัวใจ   แต่ในกรณีผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว บางคนมีข้อจำกัดในเรื่องของการทำงานของตับ ไต จึงควรปรึกษาเภสัชกร ก่อนจะนำมาให้ผู้สูงอายุทาน

การดูแลด้านอาหารและโภชนาการ เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญมากในการดูแลผู้สูงอายุ โดยที่ผู้ดูแลจะมีบทบาทที่สำคัญมากในการส่งเสริมโภชนาการที่ดี นอกจากนี้ยังควรดูแลสุขภาพกาย และสุขภาพใจอื่นๆ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีแข็งแรง เหมาะกับวัย รวมถึงดูแลเรื่องการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอก็จะทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดี และมีคุณภาพชีวิตที่ดีตามมาด้วย

ปรึกษาแพทย์ออนไลน์ (ไม่เสียค่าใช้จ่าย)

    ชื่อ

    นามสกุล

    Email

    เบอร์โทร

    ข้อความ

    Start typing and press Enter to search