ปัญหา “เอ็นไหล่ฉีกขาด” นับว่าเป็นปัญหาที่พบบ่อย ผู้ป่วยจะมาด้วยอาการปวดและไม่สามารถใช้งานไหล่ได้อย่างปกติ เช่น ไม่สามารถหวีผม หรือใส่ตะข้อเสื้อชั้นในได้ บางรายถึงขั้นแค่แต่งตัวใส่เสื้อก็มีอาการเจ็บที่หัวไหล่ และมีภาะวะอ่อนแรงลงของข้อไหล่

สาเหตุของเอ็นข้อไหล่ฉีกขาด

เมื่อพูดถึงบริเวณ หัวไหล่ นับว่าเป็นอวัยวะสำคัญที่หลายคนอาจมองข้าม และเผลอใช้งานอย่างหนักจนหลงลืมไปว่าหัวไหล่นี้เองเป็นอวัยวะที่มีหน้าที่เชื่อมต่อแขนกับลำตัว โดยมีกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นพยุงเอาโดยรอบ การใช้งานที่อวัยวะส่วนแขนมากเกินไป เช่น การยกของหนักหรือการหยิบจับสิ่งของแบบผิดท่าทาง ยังสามารถส่งผลเสียต่อส่วนต่าง ๆ ในบริเวณหัวไหล่ได้ ส่งผลให้เกิดอาการเอ็นข้อไหล่ฉีกขาด ซึ่งมีผลมาจาก 3 สาเหตุใหญ่ ๆ ได้แก่

            1.ความเสื่อมทางร่างกาย ผู้ป่วยที่อายุล่วงเลยวัยกลางคนมาแล้ว รูปแบบการใช้ชีวิตในอดีต อาจมีการใช้งานในส่วนดังกล่าวหนักเกินปกติ จากที่กลุ่มเส้นเอ็นเคยมีเลือดไหลเวียนตามระบบของร่างกาย อายุที่มากขึ้นเป็นผลให้เลือดที่ไหลเวียนลดน้อยลงจนทำให้เส้นเอ็นเกิดเปราะหรือขาดได้ง่าย รวมถึงสาเหตุจากหินปูนที่เกิดขึ้นใต้กระดูกส่วนบนของไหล่ได้มีการเสียดสีกับเส้นเอ็นจนทำให้เส้นเอ็นเสียหาย

            2.ใช้งานต่อเนื่องเป็นเวลานาน ในกลุ่มนี้โดยส่วนมากจะเกิดขึ้นในกลุ่มนักกีฬาหรือกลุ่มผู้ใช้แรงงาน แม้จะใช้งานอย่างถูกวิธีก็ตาม แต่หากใช้อย่างหักโหมและต่อเนื่อง ไม่หยุดพักร่างกายอย่างเพียงพอ ก็อาจสร้างความเสียหายให้กลุ่มเส้นเอ็นบริเวณหัวไหล่ได้

            3.การออกแรงมากเกินไป แม้ว่าร่างกายจะอยู่ในช่วงหนุ่มสาวและรู้สึกว่ายังมีพละกำลังมากพอ การออกแรงยกของหนักเกินกว่าร่างกายจะรับไหวในบางโอกาส หรือการคว้าสิ่งของที่ตกลงมาอย่างรวดเร็วหรือฝืนกับสรีระร่างกาย ก็ทำให้เกิดผลเสียต่อหัวไหล่ได้โดยตรง

อาการของเอ็นข้อไหล่ฉีกขาดเป็นอย่างไร

ผู้ป่วยที่ประสบปัญหาเส้นเอ็นข้อไหล่ฉีกขาดจะสังเกตได้จากอาการปวดที่หัวไหล่ข้างดังกล่าวพร้อมกับอาการเหล่านี้

  • เจ็บปวดหัวไหล่ข้างที่บาดเจ็บและมีภาวะอ่อนแรง ซึ่งระดับความเจ็บปวดขึ้นอยู่กับความรุนแรงของรอยฉีกของเส้นเอ็นข้อไหล่
  • ไม่สามารถเคลื่อนไหวแขนได้เหมือนปกติ ในรายที่เอ็นข้อไหล่ฉีกขาดเพียงบางส่วนผู้ป่วยอาจรู้สึกเจ็บแต่สามารถเคลื่อนไหวแขนได้แต่ในกรณีที่รุนแรง ผู้ป่วยจะไม่สามารถชูแขน กางแขน หรือเคลื่อนไหวแขนได้เหมือนปกติ

วิธีการรักษาเอ็นข้อไหล่ฉีกขาด

การรักษานั้นจะเกิดขึ้นหลังจากการประเมินของแพทย์ที่จะวินิจฉัยด้วยการทดลองการเคลื่อนไหวตามท่วงท่าต่าง ๆ ควบคู่กับผลการเอ็กซเรย์ ก่อนจะแบ่งระดับการรักษาออกเป็นหลายระดับ ตั้งแต่ให้พักผ่อนการใช้ไหล่และแขนร่วมกับการรับประทานยาลดการอักเสบ การประคบร้อนหรือประคบเย็น ในบางกรณีอาจมีการทำกายภาพบำบัดด้วยการออกกำลังกายรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้หัวไหล่ขยับได้มากขึ้นเรื่อยๆ  หากเป็นระดับที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงและไม่สามารถใช้งานหัวไหล่ได้ หรือผู้ป่วยรู้สึกเจ็บจนทนไม่ไหวหรือไม่สามารถใช้แขนได้ อาจจำเป็นต้องพิจารณาผ่าตัด แพทย์จะใช้การรักษาด้วยวิธีผ่าตัดเปลี่ยนเอ็นข้อไหล่หากต้องการกลับมาใช้ไหล่ได้ปกติเท่าเดิม ซึ่งที่โรงพยาบาลพญาไท 3 ให้บริการผ่าตัดส่องกล้องเส้นเอ็นข้อไหล่ ที่ช่วยย่นระยะการผ่าตัดได้อย่างมาก เกิดรอยแผลเป็นน้อย รวมถึงระยะเวลาการพักฟื้นหลังการผ่าตัดที่น้อยลงกว่าการผ่าตัดปกติ ให้ผู้ป่วยได้กลับมาดำเนินชีวิตได้อย่างรวดเร็วมากขึ้นอีกด้วย

สถาบันกล้ามเนื้อ กระดูก และข้อ โรงพยาบาลพญาไท 3 ชั้น 1
เปิดบริการทุกวัน เวลา 08.00 – 22.00 น.
Phyathai Call Center 1772 หรือ
โทร. 0-2467-1111 ต่อ 3100 และ 3112

ปรึกษาแพทย์ออนไลน์ (ไม่เสียค่าใช้จ่าย)

    ชื่อ

    นามสกุล

    Email

    เบอร์โทร

    ข้อความ

    Start typing and press Enter to search