ปัจจุบันพบผู้เจ็บป่วยจากภาวะ “ข้อเข่าเสื่อม” เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และในขณะเดียวกันยังพบว่าผู้ป่วยที่เข้ารับการ “ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม” ก็มีอายุน้อยลงเรื่อยๆ เช่นกัน โดยจากเดิมมักพบในผู้ที่อายุ 50-60 ปี แต่ในปัจจุบันพบว่าอายุเพียง 40 ปี ก็เริ่มมีปัญหาข้อเข่าเสื่อมแล้ว ส่งผลให้ประเทศไทยมีผู้เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมปีละหลายหมื่นราย ซึ่งทุกคนล้วนต่างคาดหวังว่าภายหลังการผ่าตัด จะสามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ ไม่ต้องทนเจ็บปวดทรมาน ซึ่งตามหลักความเป็นจริงแล้ว ควรเป็นเช่นนั้น หากผู้ป่วยดูแลตนเองและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างถูกต้อง

แต่อย่างไรก็ตามที่รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมไปแล้วยังมีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่ต้องกลับมาทุกข์ทรมานอีกครั้งเหตุเพราะข้อเข่าเทียมที่เปลี่ยนไปเกิด ชำรุด สึกหรอ และเสื่อมลดอย่างรวดเร็ว 

ข้อเข่าเทียม เปลี่ยนแล้วอยู่ได้นานแค่ไหน ?

โดยปกติแล้ว “ข้อเข่าเทียม” สามารถคงอายุการใช้งานได้ 20 ปี แต่จากข้อมูลพบว่า 8 ใน 10 รายที่เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมสามารถคงการใช้งานข้อเข่าเทียมได้เกิน 20 ปี แต่ก็ยังมีผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมจำหนึ่งที่มีภาวะข้อเข่าเทียมที่เปลี่ยนไป เสื่อมและชำรุดก่อนเวลาที่ควรจะเป็น เนื่องจากขาดการดูแลเอาใจ และไม่ติดตามผลเป็นประจำทุกปี หรือเมื่อเกิดปัญหาเล็กน้อยและละเลยไม่ให้ความสำคัญ จึงทำให้ความเสียหายเพิ่มมากขึั้น จนกระทั้งต้องเข้ารับการซ่อมแซมอีกครั้ง

รู้อย่างไร “ข้อเข่าเทียม” เริ่มเสื่อมแล้ว

สัญญาณบ่งชี้เริ่มแรกเมื่อข้อเริ่มมีปัญหา ผู้ป่วยจะสามารถสังเกตุได้จาก การใช้งานของข้อไม่ดีดังเดิม เช่น การเหยีด งอ ไม่สามารถทำได้เท่าเดิม รู้สึกเสียความมั่นคงในการเดิน มีความรู้สึกเจ็บปวดบริเวณหัวเข่า ทั้งที่จากเดิมไม่เคยเกิดขึ้น หรือมีเสียงผิดปกติ หากเกิดความผิดปกติเหล่านี้ควรรีบพบแพทย์ตั้งแต่เนิ่นๆ โดยแพทย์จะทำการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุของการสึกกร่อน ว่าเกิดจากสาเหตุใด เพื่อวาางแผนการรักษาซ่อมข้อเข่าเทียมอย่างเหมาะสม เนื่องจากแนวทางการรักษาซ่อมข้อแต่ละสาเหตุจะรักษาแตกต่างกันออกไป ดังนั้นการค้นหาสาเหตุจึงเป็นสิ่งสำคัญในการรักษา

4 ตัวการที่ทำให้ “ข้อเข่าเทียม” เสื่อมเร็ว

1. การใช้งานที่ผิดวิธี เช่น การใช้งานท่ี่หนักมากเกินปกติ อาทิ การแบกหาม พฤติกรรมการนั่งยองๆ การออกกำลังกายที่หักโหมลงน้ำหนักมากเกินไป เป็นต้น

2. การติดเชื้อ ในประเทศไทยพบมากในช่วง 3 ปีแรกหลังการผ่าตัด โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดข้อเข้าติดเชื้อที่มาจากหลายส่วน ได้แก่

  • เกิดจากตัวผู้ป่วยเอง อาทิ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรง เช่น ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานและไม่ควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคเหงืิอกและฟัน ฝันผุ ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ทำให้มีการติดเชื้อและ แพร่กระจายมายัังข้อเข่าเทียมได้
  • ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร้อง เช่น โรครูมาตอยด์ ซึ่งจะติดเชื้อได้ง่าย
  • ผู้ที่ไม่ดูแลสุขลักษณะของตนเอง เช่น กลั้นปัสสาวะบ่อยๆ ทำให้เกิดการติดเชื้อทางเดิินปัสสาวะและแพร่กระจายมายังข้อเข่าเป็นต้น
  • สิ่งแวดล้อมจากการผ่าตัด เช่น ติดเชื้อในระหว่าางผ่าตัด

3. อุบัติเหตุ การกระทบกระแทกรุนแรงบริเวณข้อเข่า

4. ข้อหลวมสึกกร่อนตามอายุ ซึ่งเกิดจากความตึงตัวของเอ็นกล้ามเนื้อบริเวณรอบๆทำงานไม่สมดุลกัน จึงทำให้สึกหรอ หลวมเร็วกว่าปกติ

เรียกว่า 4 ตัวการนี้ ล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้ข้อเข่าเทียมเสื่อมลง และจำเป็นต้องเข้าสู่ การผ่าตัดซ่อมข้อ” ซึ่งถือได้ว่าเป็นขั้นตอนการรักษาที่ยุ่งยาก ซับซ้อนมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมในครั้งแรกมาก เสมือนกับการซ่อมบ้านที่ยากกว่าการสร้างบ้านใหม่ เพราะผู้ป่วยจะมีปัญหาสุขภาพทางกาย ทั้งการบาดเจ็บ ปวดบวมบริเวณเนื้อเยื่อรอบข้อ กระดูกกร่อนสลายไปจากเดิม สถาพจิตในถดถอยไม่พร้อมในการรักษาเพราะบาดเจ็บ จึงทำให้การรักษายากกว่ากรณีที่ไม่เคยผ่าตัดมาก่อน

ก่อนเปลี่ยนข้อเข้าเทียมต้องรู้อะไรบ้าง

สิ่งสำคัญอันดับหนึ่งคือ การศึกษาข้อมูลเกี่ยวการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม และสถานพยายบาลที่มีความพร้อมด้านบุคคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ด้านการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม มีวิสัญญีแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญดูแล มีนักกายภาพบำบัด เจ้าหน้าที่พยาบาลเข้ามาแนะนำดูแลภายหลังการผ่าตัด และเพื่อป้องกันภาวะข้อเข่าเทียมเสื่อมเร็ว ควรศึกษาแนวทางถนอมข้อเข่าเทียมรวมด้วย รวมุถึงเช็คสถานพยาบาลว่ามีความพร้อมเกี่ยวกับทรัพยากรด้านวัสดุอุปกรณ์ เพื่อใช้ทดแทนสิ่งที่สึกหรอ อาทิ กระดูก เนื้อเยื่อ ในกรณีข้อเข่าเทียมเกิดการชำรุด ซึ่งทีมแพทย์จะต้องมีการเตรียมพร้อมทั้งการปลูกกระดูก ธนาคารเนื้อเยื่อ สำหรับใช่ระหว่างการผ่าตัด มีเทคโนโลยีการผ่าตัดที่ทันสมัย และห้องผ่าตัดที่ได้มาตรฐานก็เป็นสิ่งที่สำคัญเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม เมื่อตัดสินใจผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม การผ่าตัดในครั้งแรกจะเป็นการผ่าตัดที่ดีที่สุดและสำคัญที่สุด และควรปฎิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อให้ข้อของคุณมีคุณภาพและมีอายุการใช้งานที่นานที่สุด

นพ. กีรติ เจริญชลวานิช

ข้อมูลโดย ศ.นพ. กีรติ เจริญชลวานิช
แพทย์เฉพาะทางด้านศัลยกรรมกระดูกและข้อ ศัลยกรรมข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม
สถาบันผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม โรงพยาบาลพญาไท 3

ปรึกษาแพทย์ออนไลน์ (ไม่เสียค่าใช้จ่าย)

    ชื่อ

    นามสกุล

    Email

    เบอร์โทร

    ข้อความ

    Start typing and press Enter to search