การผ่าตัดส่องกล้องแผลเล็กรักษา โรคทางศัลยกรรมทั่วไป

เพราะเราเข้าใจดีว่า ผู้ป่วยทุกคนอยากกลับบ้านมากแค่ไหน
เราจึงเตรียมพร้อมให้ทุกการผ่าตัดไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ มีประสิทธิภาพช่วยผู้ป่วยหายไว
และกลับบ้านได้ไวที่สุด

การผ่าตัดส่องกล้อง ศูนย์ศัลยกรรมเทคโนโลยีชั้นสูง

ปฏิเสธไม่ได้ว่านวัตกรรมการผ่าตัดที่ช่วยในการฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว ได้เข้ามาในบทบาทที่ทำให้ประสิทธิภาพในการรักษาโรคที่ต้องได้รับการผ่าตัดก้าวไปอย่างไม่หยุดยั้ง ศูนย์ศัลยกรรมเทคโนโลยีชั้นสูง (Advanced Surgical Interventional Technologies) หรือ ASIT จัดตั้งขึ้นเพื่อตอบสนองคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอย่างเป็นองค์รวม ซึ่งไม่เพียงการผ่าตัดแบบ Minimally  Invasive Surgery ( MIS ) หรือการผ่าตัดผ่านกล้องแผลเล็กโดยศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง แต่ยังครอบคลุมถึงการตรวจวินิจฉัยและการรักษาโดยเครื่องมือที่ทันสมัยอันดับต้นๆ ในประเทศไทย รวมทั้งการดูแลและให้คำแนะนำจากทีมแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ ที่มีประสบการณ์สูง เพื่อการรักษาที่ครอบคลุมและครบวงจรอย่างแท้จริง

รู้จักการผ่าตัดผ่านกล้องแผลเล็ก Minimally Invasive Surgery ( MIS )

การผ่าตัดผ่านกล้องจะทำโดยการเจาะผิวหนังบริเวณที่จะทำการรักษาเป็นรูขนาดเล็ก ๆ เพื่อสอดใส่กล้องและเครื่องมือผ่าตัดลงไปเพื่อทำการผ่าตัด ซึ่งรอยแผลจะมีขนาดเล็กประมาณ 1-2 ซม เพื่อให้ภาพที่ชัดเจนและลดการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อและอวัยวะภายในน้อย ลดโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ผู้ป่วยใช้ระยะเวลาพักฟื้นไม่นาน แผลเล็ก เจ็บน้อย

โรคทางศัลยกรรมใดบ้าง รักษาได้ด้วยการผ่าตัดผ่านกล้องแผลเล็ก ?

เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพการรักษาให้ผู้ป่วยทุกคนสามารถกลับมามีชีวิตที่มีความสุขได้ไวที่สุด โรงพยาบาลพญาไท 3 จึงเตรียมความพร้อมสำหรับการใช้เทคโนโลยีการผ่าตัดผ่านกล้องแผลเล็กไว้คอยบริการ ครอบคลุม ทุกกลุ่มโรคทางศัลยกรรม โดยมีรายละเอียดโรคทางศัลยกรรมทั่วไป ที่สามารถรักษาได้ด้วยเทคโนโลยีการผ่าตัดผ่านกล้องแผลเล็ก ดังนี้

  • การผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีผ่านกล้อง
  • การผ่าตัดมะเร็งลำไส้ใหญ่ผ่านกล้อง
  • การผ่าตัดไทรอยด์ผ่านกล้องทางช่องปาก
  • การผ่าตัดไส้ติ่งผ่านกล้อง
  • การผ่าตัดไส้เลื่อนผ่านกล้อง
  • การผ่าตัดกระเพาะอาหารผ่านกล้อง

เรื่องร้ายๆ ของโรคทางศัลยกรรมทั่วไป ที่คนทั่วไปควรรู้!!

  • โรคทางศัลยกรรมทั่วไป คือโรคที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยเฉพาะคนทำงาน มนุษย์ออฟฟิศ จะมีความเสี่ยงมาก เป็นโรคที่เป็นแล้วต้องทำการรักษาด้วยการผ่าตัดเท่านั้นถึงจะหายได้
  • ตัวอย่างโรคทางศัลยกรรมที่พบบ่อยและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ก็เช่น ไส้ติ่ง นิ่วในถุงน้ำดี โรคกระเพาะ มะเร็งอวัยวะภายใน อย่างมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นต้น
  • มะเร็งลำไส้ใหญ่ คือ Top 3 ของมะเร็งที่คนไทยเป็นมากที่สุด โดยแต่ละปีมีคนไทยป่วยเป็นโรคนี้กว่า 1 ล้านคน ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมการบริโภค ที่ไม่ได้รับการใส่ใจดูแลให้ถูกต้องเหมาะสม
  • มะเร็งตับ คือโรคมะเร็งอันดับหนึ่งของผู้ชาย โดยพบได้ในช่วงอายุตั้งแต่ 30-70 ปี พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงถึง 3 เท่า จัดว่าเป็นโรคที่อันตรายมากเพราะระยะแรกของโรคจะไม่แสดงอาการ ทำให้กว่าจะทราบว่าป่วยก็อยู่ในระยะที่ไม่มีทางรักษาแล้ว
  • ไส้ติ่งอักเสบ โรคที่ดูเหมือนไม่ได้ร้ายแรง แต่ปัจจุบันพบว่าคนไทยเสียชีวิตจากโรคนี้สูงขึ้นเป็นอันดับที่ 5 จาก 198 ประเทศทั่วโลก ซึ่งเหตุผลหลักมาจากเรื่องของความล่าช้าในการผ่าตัด การรอคิวในการผ่าตัด อันเนื่องมาจากการวินิจฉัย ดังนั้น ยิ่งเราได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ที่เชี่ยวชาญมากเท่าไร ก็มีโอกาสช่วยให้หายป่วยและปลอดภัยได้มากยิ่งขึ้น

สังเกตตัวเองอย่างไร ถึงรู้ว่ากำลังเสี่ยงภัยโรคทางศัลยกรรม

เนื่องจากโรคทางศัลยกรรมทั่วไปส่วนใหญ่ เป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเราเป็นหลัก ดังนั้น การควบคุมพฤติกรรมการกิน การนอน การใช้ชีวิตของเราให้ถูกสุขลักษณะและเหมาะสม จึงเป็นสิ่งที่เราควรใส่ใจและให้ความสำคัญ รวมไปถึงการหมั่นสังเกตอาการผิดปกติของร่างกายควบคู่ไปด้วย ทั้งนี้ เนื่องด้วยตำแหน่งความผิดปกติของโรคทางศัลยกรรมส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับอวัยวะภายในบริเวณช่องท้องและใกล้เคียง ดังนั้น อาการสำคัญที่เป็นจุดเริ่มต้นให้ทุกคนควรตั้งข้อสงสัยว่า “เราป่วยเป็นอะไรหรือเปล่า?” นั่นก็คือ “อาการปวดท้อง” และอาการปวดท้อง อาการผิดปกติที่อาจเป็นสัญญาณของโรคทางศัลยกรรม ที่สำคัญๆ ก็ได้แก่

  • ปวดท้องรุนแรง เฉียบพลัน กดสำรวจแล้วมีอาการเจ็บ
  • ปวดท้องเรื้อรัง ต่อเนื่อง เป็นๆ หายๆ
  • ปวดท้องรุนแรงบริเวณท้องน้อยด้านขวา สัญญาณเตือนไส้ติ่งอักเสบ
  • ปวดท้องบริเวณด้านล่างซ้ายอย่างรุนแรง
  • ท้องผูก ท้องเสีย ท้องร่วง บ่อยๆ หรือเป็นสลับกัน
  • ถ่ายเป็นเลือด
  • กลืนอาหารลำบาก
  • ท้องอืดแน่น จุกท้อง คลื่นไส้ เวียนศีรษะบ่อยๆ
  • คลำพบก้อนที่ใดที่หนึ่งของร่างกาย

สังเกตอาการปวดท้องควบคุมพฤติกรรมใช้ชีวิตให้ถูกต้อง
หมั่นตรวจสุขภาพให้แพทย์คัดกรอง ชีวิตจะได้ไม่ต้องเสี่ยงโรคภัยมากขึ้น

ปรึกษาแพทย์ออนไลน์ (ไม่เสียค่าใช้จ่าย)

    ชื่อ

    นามสกุล

    Email

    เบอร์โทร

    ข้อความ

    Start typing and press Enter to search