ประโยชน์ของการตรวจภาวะเลือดออกในอุจจาระ “Stool Occult Blood” เป็นการตรวจภาวะที่มีเลือดออกมาปนกับอุจจาระ ซึ่งพบได้ในโรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติของกระเพาะอาหารและลำไส้ เช่น แผลในกระเพาะอาหาร มะเร็งทางเดินอาหาร ริดสีดวงทวาร เป็นต้น
การตรวจอุจจาระแบบพื้นฐาน โดยทั่วไปไม่ต้องมีการเตรียมตัวล่วงหน้า (ไม่ต้องงดน้ำงดอาหาร รับประทานอาหารได้ตามปกติ แต่ไม่เน้นอาหารที่มีกากใยสูง และควรดื่มน้ำให้มาก ๆ เพื่อให้อุจจาระอ่อนนิ่มไม่แข็ง) เพียงแต่เก็บอุจจาระที่ถ่ายตามปกติใส่ภาชนะและนำส่งห้องตรวจ ห้องปฏิบัติการ โดยการตรวจอุจจาระจะมีขั้นตอนดังนี้
1. การเก็บอุจจาระ ถ้าเป็นไปได้ควรงดอาหารที่มีเอนไซม์เปอร์ออกซิเดรส เช่น เนื้อแดง ตับ หรือ ผักบางชนิด เช่น หัวไชเท้า บล็อกโคลี่ และหลีกเลี่ยงวิตามินซีปริมาณมากกว่า 250 mg / วัน
2. ก่อนการเก็บตัวอย่างอุจจาระ ควรปัสสาวะทิ้งไปก่อน เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของปัสสาวะที่อาจส่งผลให้การตรวจอุจจาระนั้นผิดพลาดได้
3. ล้างมือให้สะอาดก่อนเก็บเนื่องจากอุจจาระอาจเป็นแหล่งแพร่กระจายของเชื้อโรคได้ และใส่ถุงมือยางเพื่อป้องกันอุจจาระเปื้อนมือ (ไม่จำเป็นต้องเป็นถุงยางปลอดเชื้อก็ได้)
4. เตรียมที่ป้ายอุจจาระ (ควรจะเป็นไม้แผ่นเล็ก ๆ ลักษณะคล้ายไม้พาย ไม้ไอศกรีม หรือช้อนพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง) และภาชนะที่เก็บอุจจาระที่ทางโรงพยาบาลเตรียมไว้ให้ (หากไม่มีภาชนะที่โรงพยาบาลเตรียมให้ ควรเลือกภาชนะที่แห้ง สะอาด ปากกว้าง ล้างให้สะอาดและแห้ง)
5. ถ่ายอุจจาระลงในถุงพลาสติกปากกว้างที่แห้งและสะอาด ไม่ให้อุจจาระตกลงน้ำ จากนั้นให้ใช้ไม้หรือช้อนพลาสติกป้ายอุจจาระเก็บใส่ภาชนะให้ได้ประมาณขนาดนิ้วหัวแม่มือ โดยกระจายเก็บให้ทั่วก้อนอุจจาระและเลือกเก็บอุจจาระในบริเวณที่มีสีแตกต่างกันหรือเลือกจุดที่มีความผิดปกติ เพื่อเพิ่มความแม่นของผลการตรวจ
ไม่เก็บอุจจาระจากโถส้วม เพราะอุจจาระจะปนกับน้ำและส่งผลให้ผลตรวจผิดพลาดได้
ไม่ควรเลือกเก็บอุจจาระเฉพาะจุดใดจุดหนึ่ง แต่ควรกระจายเก็บให้ทั่วก้อน
ไม่ควรเลือกเก็บตัวอย่างอุจจาระในบริเวณที่แข็งหรือใช้ไม้กดไม่ลง แต่ควรเลือกบริเวณที่มีความอ่อนนุ่ม
ถ้าอุจจาระเป็นน้ำหรือเป็นมูกเลือดให้เก็บส่วนที่ผิดปกตินั้นมาด้วย
ถ้าอุจจาระเหลวให้ถ่ายลงในภาชนะโดยตรง
ในขณะป้ายเก็บอุจจาระควรระวังไม่ให้มือไปสัมผัสกับอุจจาระ
อย่าให้อุจจาระปนเปื้อนกับน้ำ สบู่ หรือปัสสาวะ
ห้ามเก็บตัวอย่างอุจจาระด้วยทิชชู
ประโยชน์ของการตรวจภาวะเลือดออกในอุจจาระ “Stool Occult Blood” เป็นการตรวจภาวะที่มีเลือดออกมาปนกับอุจจาระ ซึ่งพบได้ในโรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติของกระเพาะอาหารและลำไส้ เช่น แผลในกระเพาะอาหาร มะเร็งทางเดินอาหาร ริดสีดวงทวาร เป็นต้น
การตรวจอุจจาระแบบพื้นฐาน โดยทั่วไปไม่ต้องมีการเตรียมตัวล่วงหน้า (ไม่ต้องงดน้ำงดอาหาร รับประทานอาหารได้ตามปกติ แต่ไม่เน้นอาหารที่มีกากใยสูง และควรดื่มน้ำให้มาก ๆ เพื่อให้อุจจาระอ่อนนิ่มไม่แข็ง) เพียงแต่เก็บอุจจาระที่ถ่ายตามปกติใส่ภาชนะและนำส่งห้องตรวจ ห้องปฏิบัติการ โดยการตรวจอุจจาระจะมีขั้นตอนดังนี้
1. การเก็บอุจจาระ ถ้าเป็นไปได้ควรงดอาหารที่มีเอนไซม์เปอร์ออกซิเดรส เช่น เนื้อแดง ตับ หรือ ผักบางชนิด เช่น หัวไชเท้า บล็อกโคลี่ และหลีกเลี่ยงวิตามินซีปริมาณมากกว่า 250 mg / วัน
2. ก่อนการเก็บตัวอย่างอุจจาระ ควรปัสสาวะทิ้งไปก่อน เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของปัสสาวะที่อาจส่งผลให้การตรวจอุจจาระนั้นผิดพลาดได้
3. ล้างมือให้สะอาดก่อนเก็บเนื่องจากอุจจาระอาจเป็นแหล่งแพร่กระจายของเชื้อโรคได้ และใส่ถุงมือยางเพื่อป้องกันอุจจาระเปื้อนมือ (ไม่จำเป็นต้องเป็นถุงยางปลอดเชื้อก็ได้)
4. เตรียมที่ป้ายอุจจาระ (ควรจะเป็นไม้แผ่นเล็ก ๆ ลักษณะคล้ายไม้พาย ไม้ไอศกรีม หรือช้อนพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง) และภาชนะที่เก็บอุจจาระที่ทางโรงพยาบาลเตรียมไว้ให้ (หากไม่มีภาชนะที่โรงพยาบาลเตรียมให้ ควรเลือกภาชนะที่แห้ง สะอาด ปากกว้าง ล้างให้สะอาดและแห้ง)
5. ถ่ายอุจจาระลงในถุงพลาสติกปากกว้างที่แห้งและสะอาด ไม่ให้อุจจาระตกลงน้ำ จากนั้นให้ใช้ไม้หรือช้อนพลาสติกป้ายอุจจาระเก็บใส่ภาชนะให้ได้ประมาณขนาดนิ้วหัวแม่มือ โดยกระจายเก็บให้ทั่วก้อนอุจจาระและเลือกเก็บอุจจาระในบริเวณที่มีสีแตกต่างกันหรือเลือกจุดที่มีความผิดปกติ เพื่อเพิ่มความแม่นของผลการตรวจ
- ไม่เก็บอุจจาระจากโถส้วม เพราะอุจจาระจะปนกับน้ำและส่งผลให้ผลตรวจผิดพลาดได้
- ไม่ควรเลือกเก็บอุจจาระเฉพาะจุดใดจุดหนึ่ง แต่ควรกระจายเก็บให้ทั่วก้อน
- ไม่ควรเลือกเก็บตัวอย่างอุจจาระในบริเวณที่แข็งหรือใช้ไม้กดไม่ลง แต่ควรเลือกบริเวณที่มีความอ่อนนุ่ม
- ถ้าอุจจาระเป็นน้ำหรือเป็นมูกเลือดให้เก็บส่วนที่ผิดปกตินั้นมาด้วย
- ถ้าอุจจาระเหลวให้ถ่ายลงในภาชนะโดยตรง
- ในขณะป้ายเก็บอุจจาระควรระวังไม่ให้มือไปสัมผัสกับอุจจาระ
- อย่าให้อุจจาระปนเปื้อนกับน้ำ สบู่ หรือปัสสาวะ
- ห้ามเก็บตัวอย่างอุจจาระด้วยทิชชู
6. ปิดฝาที่เก็บอุจจาระให้สนิท เช็ดภาชนะที่บรรจุอุจจาระให้สะอาด
7. ถอดถุงมือ และทิ้งถุงมือรวมทั้งที่ป้ายอุจจาระลงในถุงพลาสติก ปิดปากถุงให้แน่น และนำไปทิ้งในถังขยะสำหรับสิ่งติดเชื้อ แล้วล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำกับสบู่
8. เขียนชื่อนามสกุล วันที่ เวลาในการเก็บ เลขประจำตัวผู้ป่วย (HN) และวันเดือนปีเกิด (ถ้ามี) ให้ถูกต้องชัดเจนบนภาชนะเก็บอุจจาระ (ถ้าไม่มีอาจเขียนใส่สติกเกอร์และแปะไว้ข้างภาชนะเก็บ )
9. เก็บภาชนะที่ใส่อุจจาระในถุงพลาสติก 2 ชั้น ปิดปากถุงทีละชั้นให้แน่นเรียบร้อย แล้วจึงนำส่งเจ้าหน้าที่ ศูนย์ส่องกล้องทางเดินอาหารและโรคตับทันที แต่ถ้าไม่สามารถทำได้ก็ควรนำตัวอย่างอุจจาระไปเก็บไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดาที่ไม่ใช่ช่องเก็บน้ำดื่มและอาหาร (ไม่ควรเก็บนานเกิน 24 ชั่วโมง เพราะแบคทีเรียในอุจจาระจะเติบและเปลี่ยนแปลง และปกติแล้วแพทย์พยาบาลจะแนะนำให้ส่งตัวอย่างภายใน 2 ชั่วโมง เพื่อความแม่นยำของผลตรวจ)
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ศูนย์ส่องกล้องทางเดินอาหารและโรคตับ โรงพยาบาลพญาไท 3 โทร. 02-467-1111ต่อ 3260