คำแนะนำไตรมาสที่ 1
1. อาหาร ทานทาหารตามปกติเหมือนก่อนตั้งครรภ์เท่าที่ทานได้ ในรายที่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ควรเป็นอาหารอ่อน ย่อยง่าย ทานทีละน้อย
2. ควรฝากครรภืตั้งแต่เริ่มทราบว่าตั้งครรภ์ หรือไม่ควรเกินอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ (อายุครรภ์ เริ่มนับจากวันแรกของประจำเดือนรอบสุดท้าย)
3. การฉีดวัคซีน ในรายที่ไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักมาก่อน จะฉีด 2 เข็มห่างกันอย่างน้อย 1 เดือนในไตรมาสที่ 1 -2 ส่วนวัคซีนอื่น ๆ แนะนำปรึกษาแพทย์
4. เพศสัมพันธ์ขณะตั้งครรภ์ ไม่มีข้อห้ามในการมีเพศสัมพันธ์แต่อย่างใด ยกเว้นในรายที่มีความเสี่ยงสูง
คำแนะนำไตรมาสที่ 2
1. ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ทุกประเภท ไม่ควรรับประทานอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล และไขมันมากเกินไป
2. เน้นผัก ผลไม้ อาหารที่มีกากใยสูง ธาตุเหล็ก ดื่มน้ำวันละ 6 – 8 แก้ว เพื่อป้องกันอาการท้องผูก
3. ออกกำลังกาย ที่ไม่หักโหม มากเกินไป เช่น เดินวันละ 10 – 20 นาที ว่ายน้ำ (แนะนำให้ออกกำลังกายในรายที่เคยออกกำลังกายสม่ำเสมอ ตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์)
4. ท่านอน จะช่วยบรรเทาอาการปวดหลังที่เกิดขึ้นในขณะตั้งครรภ์ได้ ท่านอนควรตะแคงซ้าย , ขวา หรือ หงายสลับกันเพื่อลดจุดกดทับของร่างกาย โดยอาจมีหมอนรองรับขาให้สูงขึ้น เพื่ออาการบวมของขาที่เกิดจากกิจกรรมในระหว่างวัน
5. การตรวจเต้านม เพื่อเตรียมความพร้อมการให้นมในระยะหลังคลอด
คำแนะนำไตรมาสที่ 3
1. อาหาร ควรเพิ่มอาหารประเภทโปรตีน และอาหารที่มีแคลเซียม
2. การฝากครรภ์ การนัดตรวจครรภ์จะบ่อยขึ้น ในไตรมาสนี้จะมีการตรวจปัสสาวะ เพื่อดูน้ำตาลและโปรตีน เช็คความดันโลหิต ติดตามอาหารบวม เพื่อตรวจหาว่ามีภาวะครรภ์เป็นพิษ หรือไม่
3. การดูแลเต้านม ในระยะ 2 – 3 เดือนก่อนคลอด ไม่ควรฟอกสบู่บริเวณหัวนมมากนัก จะทำให้หัวนมแห้ง และแตกง่าย
ศูนย์สุขภาพหญิง โรงพยาบาลพญาไท3 โทร 02-4671111 ต่อ 3264,3265
วิธีการสังเกตอาการ เจ็บครรภ์จริงหรือเจ็บครรภ์เตือน
ข้อควรสังเกต | เจ็บครรภ์จริง | เจ็บครรภ์เตือน |
ความถี่ | สม่ำเสมอ+ถี่มากขึ้น | ไม่สม่ำเสมอ |
ความนาน | 10-40 วินาที | ไม่แน่นอน |
ตำแหน่ง | ยอดมดลูก ทั้งท้อง+หลังก้น | ท้องน้อยช่วงล่าง |
พัก/หยุดกิจกรรม | ไม่หาย | หาย/ดีขึ้น |
มีอาการอื่นร่วมด้วย | มูกเลือด/น้ำเดิน |
เจ็บครรภ์คลอดมากแค่ไหนที่ต้องมาโรงพยาบาล?
- ท้องแข็งทุกๆ 5-10 นาที เป็นเวลา 1-2 ชั่วโมง
- เจ็บครรภ์มาก รู้สึกว่าทนไม่ได้
- น้ำเดิน (ไม่ว่าจะเจ็บครรภ์หรือไม่)
- อาการข้างต้น ก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์
ศูนย์สุขภาพหญิง
โรงพยาบาลพญาไท 3 ชั้น 2
เวลาทำการ
เปิดบริการทุกวัน เวลา 08.00 – 20.00 น. เพื่อความสะดวกของผู้ใช้บริการ กรุณาโทรนัดหมายล่วงหน้าก่อนเข้ารับบริการ
เบอร์โทรศัพท์
02-467-1111 ต่อ 3264 , 3265