ปัญหาเรื่องกระดูกสันหลังอีกอาการปวดที่พบได้บ่อยไม่ว่าจะจากความเสื่อมหรือจากการใช้ชีวิตประจำวัน
ที่อาจจะเกิดกับตัวเอง หรือฟังจากคนรอบข้างที่บ่นกันอยู่บ่อย ๆ ซึ่งความปวดเหล่านี้สามารถหมดไป หรือลดลงได้ ด้วยการระงับปวดโดยไม่ต้องผ่าตัด กับแพทย์เฉพาะทางเรื่องความปวด ณ ศูนย์ระงับปวด มีวิธีอย่างไรบ้างไปซักถามจาก ผศ.นพ. นันตสรณ์ สิญจน์บุณยะกุล ศูนย์ระงับปวด โรงพยาบาลพญาไท 3 พร้อมกัน ๆ กัน
Q : ผู้ที่ปวดคอ ปวดหลังมาพบแพทย์บ่อย ๆ คือ กลุ่มใด?
ผศ.นพ. นันตสรณ์: ผู้ป่วยที่มีปัญหาปวดจากกระดูกสันหลังและเข้ารับการรักษาไม่ว่าปวดคอหรือหลังส่วนเอว ส่วนใหญ่จะมี 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ ผู้สูงอายุ จากปัญหากระดูกมีความเสื่อมตามวัย และกลุ่มคนวัยทำงาน ที่มีปัญหากระดูกสันหลังจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น ออฟฟิศซินโดรม ครับ
Q : เริ่มมีอาการปวดคอ ปวดหลัง ต้องพบแพทย์ทันทีหรือไม่ ?
ผศ.นพ. นันตสรณ์: หากคุณเพิ่งเคยมีอาการปวดคอ ปวดหลัง และทราบว่าเกิดการใช้ชีวิตประจำวันทั่ว ๆ ไป เช่น ท่าทางที่ไม่ถูกต้อง อย่าเพิ่งตกใจว่าต้องไปพบแพทย์ทันที เพราะในเบื้องต้นสามารถดูแลอาการปวดได้ด้วยตนเอง แต่วงเล็บว่า (ต้องดูแลตนเองดีจริง ๆ นะ) โดยมีหลักการง่าย ๆ ดังนี้ คือ
Q : เริ่มมีอาการปวดคอ ปวดหลัง ต้องพบแพทย์ทันทีหรือไม่ ?
ถ้ามีอาการปวดหลัง ควรพักผ่อน และหลีกเลี่ยงท่าทางที่ส่งผลกระทบกับกระดูกสันหลัง
รับประทานยาบรรเทาปวด
ปรับเปลี่ยนท่าทางที่ใช้ในชีวิตประจำวันให้เหมาะสม
โดยเฉลี่ย 80-90 % อาการจะดีขึ้นได้เอง แต่สำหรับบางรายที่อาการไม่ดีขึ้นและอาการปวดรบกวนการใช้ชีวิต นั่นคือสัญญาณที่บอกว่าควรเข้ารับการรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างเหมาะสม
Q : ถ้ามีอาการปวดสามารถพบแพทย์ที่ศูนย์ระงับปวดได้โดยตรงหรือไม่ ?
ผศ.นพ. นันตสรณ์: ได้เลยครับ เพราะการเข้ารับการรักษาในรพ.พญาไท 3 ผู้ป่วยสามารถเข้ามาพบแพทย์ศูนย์ระงับปวด เพื่อตรวจวินิจฉัยเพื่อพิจารณาว่าคนไข้มีอาการของโรคใด อยู่ในกลุ่มใด สามารถทำการรักษาได้ด้วยวิธีใดหรือควรปรึกษาศัลยแพทย์เพื่อคุยเรื่องของการผ่าตัดเมื่อไหร่ อย่างไรก็ดีอีกทางหนึ่งคนไข้จะเข้ารับการรักษาเฉพาะทางกับศูนย์ต่าง ๆ เช่น ศูนย์กระดูกสันหลัง และเมื่อแพทย์ตรวจพิจารณาแล้วว่ายังไม่มีความจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด น่าจะทำหัตถการระงับปวดก็จะส่งต่อมาที่ศูนย์ระงับปวดเพื่อพิจารณาทำหัตถการด้วยวิธีต่าง ๆ ต่อไป ซึ่งไม่ว่าอย่างไรก็ดีแพทย์ระงับปวดจะทำงานร่วมกันเป็นทีมทั้งกับศัลยแพทย์และกายภาพบำบัดเพื่อหาทางเลือกที่เหมาะสมและดีที่สุดสำหรับผู้ป่วย
Q : เมื่อปวดคอ ปวดหลังสามารถบำบัดด้วยวิธีใดได้บ้าง ?
ผศ.นพ. นันตสรณ์: การบำบัดอาการปวดเราจะเริ่มจากการดูแลขั้นพื้นฐาน และหากอาการไม่ดีขึ้น แพทย์จะพิจาราณาวิธีการบำบัดตามความเหมาะสมของลักษณะโรคและสถานการณ์ของคนไข้เป็นหลัก ได้แก่
การรักษาขั้นพื้นฐาน ประกอบไปด้วย ด้วยการทานยา การทำกายภาพบำบัด การพักผ่อนร่างกาย การใช้อิริยาบถที่เหมาะสม
การทำหัตถการระงับปวด เป็นแนวทางการบำบัดที่มีประโยชน์สำหรับกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่มีข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด แต่รักษาขั้นพื้นฐานแล้วไม่ดีขึ้น หรือในกลุ่มผู้ป่วยที่พิจารณาแล้วว่าการผ่าตัดไม่สามารถช่วยแก้ไขให้หายขาดได้ เป็นต้น
การทำหัตถการระงับปวดในประเทศไทย อาจเรียกได้ว่ายังค่อนข้างใหม่ แต่สำหรับในต่างประเทศมีการทำมาอย่างแพร่หลายมากว่า 20-30 ปีและมีหลักฐานทางการแพทย์ยืนยันถึงประสิทธิภาพในการรักษาจนเป็นที่ยอมรับ ยกตัวอย่างเช่นการรักษาอาการปวดหลังในระบบบริการสุขภาพของประเทศอังกฤษ มีการกำหนดแนวทางให้ผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังเรื้อรังมาพบแพทย์ระงับปวดเพื่อพิจรณาการทำหัตถการระงับปวดเช่นจี้ปลายประสาทก่อนที่จะไปถึงขั้นตอนการผ่าตัด เนื่องจากเป็นวิธีการรักษาที่พิสูจน์แล้วว่าได้ผลดี เจ็บตัวน้อย และฟื้นตัวไวกว่า ตัวอย่างหัตถการระงับปวดได้แก่
การจี้เส้นประสาทด้วยคลื่นไมโครเวฟ (Radio Frequency Ablation)
เป็นการบำบัดโดยใช้เอ็กซเรย์ในการดูตำแหน่งที่ต้องการจี้ระงับปวด และจึงใช้เข็มสอดเข้าไปเพื่อจี้โดยคลื่นไมโครเวฟไปยังจุดเส้นประสาทที่ปวด ทำให้ไม่มีความรู้สึกปวด ซึ่งสามารถควบคุมอาการปวดได้ประมาณ 9 เดือนถึง1 ปี และถึงแม้จะเป็นการทำลายเส้นประสาท แต่ด้วยเส้นประสาทที่จี้เป็นส่วนของความรู้สึกปวดบริเวณที่ปวดเท่านั้น ไม่มีผลกระทบกับการเคลื่อนไหวใด ๆ ดังนั้น จึงหมดกังวลไปได้เลยว่าทำแล้วจะส่งผลให้เดินไม่ได้ หรือมีปัญหาเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ไหวที่แขน ขา ใช้เวลาในการจี้บำบัดประมาณ 30-60 นาที และภายหลังทำเสร็จนอนดูอาการเพียง 30 นาที ก็สามารถกลับบ้านได้
การจี้เส้นประสาทด้วยคลื่นไมโครเวฟ ยังมีความโดดเด่นที่สำคัญ คือ ก่อนจะบำบัดด้วยการจี้เส้นประสาท ผู้ป่วยจะต้องได้รับการทดสอบด้วยการฉีดยาชาที่เส้นประสาทบริเวณที่จะทำการบำบัดก่อน เพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรคและเพื่อดูแนวโน้มของการตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีจี้เส้นประสาท หากผู้ป่วยมีอาการปวดลดลงอย่างชัดเจนภายหลังการฉีดยา แพทย์จึงจะนัดมาบำบัดจี้เส้นประสาทด้วยคลื่นไมโครเวฟ
ข้อห้ามและข้อควรระวังในการจี้เส้นประสาทด้วยคลื่นไมโครเวฟ
ข้อควรระวัง: กรณีทานยาละลายลิ่มเลือดบางชนิด ต้องหยุดยาตามคำแนะนำของแพทย์ก่อนรับการบำบัด
ข้อห้าม: สตรีตั้งครรภ์หรือสงสัยว่าตั้งครรภ์ และผู้ที่มีการติดเชื้อบริเวณผิวหนังที่จะทำการบำบัด
การเตรียมตัวก่อนทำหัตถการด้วยการจี้เส้นประสาทด้วยคลื่นไมโครเวฟ
งดน้ำ งดอาหารก่อนทำหัตถการ 6 ชม.
ต้องมีญาติ /ผู้ดูแลมาด้วยเพื่อพากลับบ้าน
o การฉีดสเตียรอยด์ระงับปวดและการอักเสบของข้อและเส้นประสาท
สามารถใช้ได้กับการระงับปวดกรณีมีปัญหาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทที่มักพบในกลุ่มคนที่อายุไม่มาก หรือกระดูกสันหลังเสื่อมและทับเส้นประสาทที่มักพบในผู้สูงอายุ ในทางทฤษฎีแล้วการฉีดสเตียรอยด์จะช่วยลดอาการปวดได้ 2-3 เดือน แต่ในผู้ป่วยที่เหมาะสมอาจตอบสนองต่อการฉีดยาได้นานกว่านี้และอาจช่วยหลีกเลี่ยงการผ่าตัดได้
การฉีดยาเพื่อคลายอาการปวดจากกล้ามเนื้อ
การใช้ไฟฟ้ากระตุ้นเส้นประสาทเพื่อบรรเทาอาการปวด
การทำหัตถการเพื่อบำบัดอาการปวดคอ ปวดหลัง มีด้วยกันหลายวิธี ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาตามความเหมาะสม และด้วยเราเข้าใจถึงความปวดของทุกคนได้เป็นอย่างดี นอกจากการบำบัดด้วยวิธีต่าง ๆ จากแพทย์เฉพาะทางแล้ว เรายังให้ความสำคัญกับการให้คำแนะนำในการดูแลตนเองด้านต่าง ๆ เพื่อผู้ป่วยสามารถนำไปปรับใช้สำหรับดูแลตนเองควบคู่กับการบำบัด เพราะเรามุ่งหวังให้ความปวดที่เกิดขึ้นนั้นได้รับการบำบัดทั้งในระยะสั้น และไม่เกิดขึ้นอีกในระยะยาว eo.
ผศ.นพ. นันตสรณ์ สิญจน์บุณยะกุล
ศูนย์ระงับปวด โรงพยาบาลพญาไท 3