อาการข้อสะโพกอักเสบ เสื่อม ปวดข้อสะโพกมักเกินขึ้นตามอายุ เมื่อเข้าสู่วัยที่อายุ 60 ปีขึ้นไป
ปัญหาเหล่านี้มักเกิดขึ้น ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้ชีวิตของแต่ละบุคคล และพันธุกรรมเกี่ยวกับเรื่องกระดูก เพราะเมื่ออายุมากขึ้นความเสื่อมของกระดูกและข้อต่อก็จะมากขึ้นโดยเฉพาะในส่วนข้อสะโพกผิดรูปตั้งแต่กำเนิด ข้อสะโพกขาดเลือด, อุบัติเหตุ, ยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์, สุรา/แอลกฮอล์ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมีอาการปวดบริเวณข้อสะโพก บางรายปวดเรื้อรัง จนไม่สามารถลุกเดิน ใช้ชีวิตประจำวันได้ แนวทางการรักษามีหลากหลายขึ้นอยู่กับลักษณะอาการของแต่ละบุคคล ทั้งทานยา การทำกายภาพ ฉีดยา หรือแม้กระทั้งผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก แต่ผู้ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักกลัวการผ่าตัด เนื่องจากอายุมากแล้ว กลัวเจ็บ กลัวการวางยาสลบ กลัวปวดหลังผ่าตัด ทำให้อดทนปวดและลุกเดินไม่ได้ บางรายจะกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียงจนถึงขึ้นเสียชีวิต
ทางการแพทย์จึงได้มีการพัฒนาแนวทางการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก ให้คนไข้ลดอาการปวดให้น้อยที่สุด เพื่อช่วยคนไข้ในกลุ่มนี้ให้ได้รับคุณภาพชีวิตที่ดีกลับมาได้ดังเดิม ถือว่าเป็นการผ่าตัดข้อสะโพกแนวใหม่ ที่ไม่ต้องตัดกล้ามเนื้อ โดยมีข้อดีสำหรับคนไข้ ดังนี้คือ
- ปวดน้อยลง เพราะการผ่าตัดไม่ผ่าไปที่กล้ามเนื้อและเส้นประสาท
- แผลเล็กลงเพราะ ใช้ X ray ระหว่างผ่าตัด ที่แม่นยำขึ้นทำให้เรากำหนดจุดผ่าตัดและขนาดความยาวของขาแต่ละข้าง ได้แน่นอนและแม่นยำ
- นอนโรงพยาบาลน้อยลง นอนเพียง 2-3 วันคนไข้สามารถ กลับบ้านได้ การผ่าตัดแบบเดิม นอน 4-5 วัน แต่การผ่าตัดแนวใหม่นี้ฟื้นตัวไว ในคนไข้บางรายหลังการผ่าตัดไม่กี่ชั่วโมงสามารถลุกยืน และเดินได้
- เสียเลือดระหว่างการผ่าตัดน้อยลง
- สามารถซ่อนรอยแผลได้
- สามารถผ่าพร้อมกันได้ 2 ข้างใน การผ่าตัดครั้งเดียว
- การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกแนวใหม่แบบไม่ตัดกล้ามเนื้อ (Direct Anterior Approach Total Hip Replacement) นั้นจะผ่าตัดเข้จากด้านหน้าข้อสะโพก (direct anterior approach) เข้าระหว่างกล้ามเนื้อ Tensor fascia lata และ Sartorius ซึ่งจะไม่มีการตัดกล้ามเนื้อใด ๆ ขณะผ่าตัด รูปแบบท่านอนของคนไข้คือคนไข้จะนอนหงายขณะผ่าตัดสามารถใส่ข้อสะโพกเทียมทำได้ตรงจุดและประเมินความยาวของขาได้อีกทั้งสามารถซ่อนแผลใต้รอยขอบบิกินี่ (Bikini incision) ได้อีกด้วย
โดยการผ่าตัดรูปแบบนี้จะไม่มีการตัดกล้ามเนื้อรอบ ๆ ข้อสะโพก เนื่องจากไม่มีการตัดกล้ามเนื้อที่เป็นตัวช่วยเพิ่มความมั่นคงของข้อสะโพกเทียมทำให้ข้อสะโพกเทียมหลุดน้อยลง โดยเทคนิคนี้แพทย์ที่ใช้จะต้องมีความเชี่ยวชาญสูง ผ่านการฝึกฝนและมีประสบการณ์สูง มีการวางแผนร่วมกันกับคนไข้เพื่อให้การผ่าตัดเป็นไปอย่างปลอดภัยมากที่สุด และยังสามารถตอบสนองความต้องการของคนไข้ได้เป็นอย่างดี
การดูแลหลังการผ่าตัด เป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง แพทย์ พยาบาล นักกายภาพ นักโภชนาการ คอยให้การดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อให้คนไข้ฟื้นตัวหลังการผ่าตัดอย่างรวดเร็วและมีคุณภาพชีวิตที่ดี ในทุก ๆ ด้าน ทั้งทางด้านกายภาพ การทำกายภาพบำบัดอย่างถูกวิธี การรับประทานยาที่เหมาะสมตามแบบคนไข้เฉพาะบุคคล การรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับการพักฟื้นหลังผ่าตัดและอายุ อีกทั้งยังมีแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูไปตรวจเยี่ยมและวางแผนการฟื้นฟูให้กลับไปใช้ชีวิตตามปกติถึงที่บ้านอีกด้วย ทั้งเทคนิคการผ่าตัดแบบใหม่ที่ทางโรงพยาบาลพญาไท 3 พัฒนาไปอย่างไม่หยุดนิ่ง และการบริการอย่างครบวงจรนั้น เพื่อให้ผู้รับบริการทุกคนของเรา ได้กลับไปมีชีวิตที่ดี อย่างมีความสุขทั้งตัวผู้รับบริการ และครอบครัว เพราะทุกท่านคือครอบครัวของเรา My Family Phyathai 3 Hospital
นพ. วีรวัฒน์ จันทรัตติยากานต์
สถาบันผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม โรงพยาบาลพญาไท 3
Phyathai Call Center 1772