ผู้สูงอายุเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงของระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายค่อนข้างมาก เนื่องจากสภาพร่างกายที่เสื่อมโทรมลง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อภาวะโภชนาการ ทำให้มีโอกาสในการขาดสารอาหารสูง ดังนั้นการดูแลเรื่องอาหารการกินมื้อหลัก จึงเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อให้สุขภาพร่างกายของผู้สูงอายุแข็งแรง
อย่างไรก็ตาม “อาหารมื้อย่อย” หรือ “อาหารว่าง” ก็มีส่วนสำคัญไม่แพ้กัน เนื่องจากช่วยเติมสารอาหารที่จำเป็นต่อผู้สูงอายุได้ เพราะในผู้สูงอายุบางท่านมีภาวะเบื่ออาหาร และรับประทานอาหารในแต่มื้อน้อยลง จึงอาจทำให้ได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอ
อาหารว่างผู้สูงอายุ สำคัญอย่างไร ?
อาหารว่าง ถือเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยสำหรับโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ ในการเติมสารอาหารที่มีความจำต่อร่างกายของผู้สูงอายุ เนื่องจากสูงอายุอาจจะได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอจากอาหารมื้อหลัก เนื่องผู้สูงอายุส่วนใหญ่ มักจะมีความแตกต่างกันในเรื่องของสุขภาพ บางรายจำเป็นต้องรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจมีผลทำให้เบื่ออาหาร ทั้งบางครั้งการทานเมนูหลักเดิมๆ ทุกวัน ก็อาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกเบื่ออาหาร หรือบางรายมีปัญหาการบดเคี้ยวจึงทำให้ ไม่มีความสุขในการรับประทานอาหาร ดังนั้นอาหารว่างจึงเป็นอีกหนึ่งตัวกระตุ้นให้ผู้สูงอายุ อยากอาหาร ซึ่งผู้เตรียมควรพิถีพิถันในการเลือกอาหารเพื่อที่จะทำให้ผู้สูงอายุได้รับสารตามที่ร่างกายต้องการอย่างครบถ้วน
8 อาหารว่างที่ผู้ดูแลควรเตรียมไว้ให้ผู้สูงอายุ
1.ผลไม้
ผลไม้ถือเป็นตัวเลือกแรกๆ ที่ขาดไม่ได้สำหรับเมนูอาหารว่างที่ควรตั้งโต๊ะไว้รอผู้อายุ เพราะผลไม้มีให้เลือกหลากหลาย ตามฤดูกาล ที่สำคัญยังเป็นแหล่งวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ มากมาย ซึ่งผลไม้ที่แนะนำในการเลือกเป็นของว่างให้ผู้สูงอายุ ได้แก่
“แอปเปิ้ล” เพราะเป็นผลไม้ที่หาง่าย มีวางขายในท้องตลอดทุกฤดูกาล มีน้ำตาลจากธรรมชาติในระดับที่พอดี และเนื้อของแอปเปิ้ลก็ไม่แข็งจนไป ที่ยากต่อการเคี้ยว เหมาะสำหรับคนที่เป็นเบาหวาน เนื่องจากสามารถช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้
“อะโวคาโด” นับว่าเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพที่ทุกควรล้วนทราบกันดี เนื้อค่อนข้างนิ่ม มีวิตามินและแร่ธาตุมากมาย และยังมีสารลูทีนที่ช่วยในการมองเห็นได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ยังมีผลไม้ที่มีเนื้อนุ่ม เคี้ยวง่าย ให้เลือกอีกหมายมาย เช่น มะละกอ กล้วยสุก ส้ม ซึ่งล้วนมีวิตามิน ควรรับประทานอย่างน้อยวันละ 1-2 ครั้ง ครั้งละ 6-8 ชิ้นพอคำ ในผู้สูงอายุที่อ้วนหรือเป็นเบาหวาน แนะนำให้หลีกเลี่ยงผลไม้หวานจัด เช่น ทุเรียน ลำไย ขนุน
2. ถั่วปั่น
อันที่จริงแล้วผู้สูงอายุสามารถรับประทานขนมได้ แต่ต้องมีลักษณะอ่อนนุ่ม เคี้ยวได้ง่าย และที่สำคัญเลยจะต้องเลี่ยงขนมที่มีความหวานจัดและมันจัด เช่น ขนมหวานที่ทำจากกะทิ โดยเฉพาะผู้สูงวัยที่มีปัญหาโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและไขมันในเลือดสูง
สำหรับ “ถั่วปั่น” อาจประกอบด้วย ถั่วเขียว ถั่วแดง และถั่วเหลือง เพิ่มความหวานด้วยน้ำผึ้ง เพื่อให้มีความหวานเล็กน้อย เหมาะกับผู้สูงวัยเป็นอย่างยิ่ง เพราะเมนูนี้จะคล้ายน้ำปั่น คือมีความเหลวจึงรับประทานง่าย และการบริโภคธัญพืชจะช่วยเสริมโปรตีนในร่างกาย ซึ่งเป็นสารอาหารจำเป็นที่เหมาะ ในการให้พลังงานกับผู้สูงอายุที่เคลื่อนไหวน้อยลง และยังช่วยทำให้เกิดย่อยและขับถ่ายดีขึ้น
3. ฟักทองนึ่ง
ฟักทอง เป็นหนึ่งในผักที่มีสีเหลืองออกส้ม มีสารเบตาแคโรทีนที่ช่วยบำรุงสายตา มีสารต้านอนุมูลอิสระ บำรุงผิวพรรณชุ่มชื่นช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็ง ไขมันน้อย น้ำตาลน้อย กากใยอาหารสูง พลังงานต่ำ จึงเป็นอาหารว่างที่เหมาะกับผู้สูงอายุ ช่วยในเรื่องของระบบขับถ่าย นอกจากฟักทองนึ่งแล้ว ผู้ดูแลอาจสลับสับเปลี่ยนเป็น กล้วยนึ่ง มันนึ่ง หรือเผือกนึ่ง มาเสิร์ฟเป็นอาหารว่างทานเล่นของผู้สูงอายุได้เช่นกัน
4. โยเกิร์ต
โยเกิร์ตเป็นของว่างอีกทางเลือกหนึ่งให้กับผู้สูงอายุ หาซื้อได้ง่ายตามร้านสะดวกซื้อทั่วไป แนะนำให้เลือกเป็นโยเกิร์ตรสธรรมชาติ ซึ่งผู้ดูแลสามารถ เพิ่มเติมรสชาติด้วยผลไม้ต่างๆ เช่น สตอเบอรี กีวี่ หรือ เติมกราโนล่าลงไป เพื่อเพิ่มความแปลกใหม่ในการรับทานแต่ละครั้ง
ข้อดีของโยเกิร์ต คือ โยเกิร์ตสามารถถูกย่อยในระบบทางเดินอาหารได้ง่ายกว่านม เนื่องจากในโยเกิร์ตอุดมไปด้วย จุลินทรีย์ชนิดดี ที่จะช่วยในการดูุดซึมสารอาหาร อีกทั้งยังช่วยในระบบการย่อยอาหาร แก้อาการท้องอืด หรือท้องผูกที่มักพบได้บ่อย ในผู้สูงอายุ นอกจากนี้ยังมีแคลเซียมสูง ที่ช่วยบำรุงกระดูกให้แข็งแรง
5. ธัญพืชชงพร้อมดื่ม
ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มธัญพืชผงพร้อมชง ออกมามากมาย จึงหาซื้อติดบ้านได้ง่าย การให้ผู้สูงอายุดื่มเครื่องดื่มชงร้อนที่มีธัญพืชนานาชนิด เช่น งาดำ ข้าวโอ๊ต อัลมอนด์ จมูกข้าว ถั่วชนิดต่างๆ จะช่วยให้ผู้สูงอายุรู้สึกอิ่มสบายท้อง และได้รับใยอาหาร โปรตีน วิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย ควรเลือกชนิดหวานน้อยจะดีที่สุด
6. คุ้กกี้ หรือ แครกเกอร์
คุ้กกี้ และ แครกเกอร์ เป็นอีกหนึ่งของว่างที่ผู้สูงอายุสามารถที่จะรับประทานเป็นของว่างได้ สำหรับคุกกี้แนะนำให้เป็น ผลไม้ หรือ อาจจะเป็นคุกกี้ผสมข้าวโอ๊ต ธัญพืชต่างๆ ในส่วนของ แครกเกอร์ ผู้สูงอายุสามารถรับประทานร่วมกับเเยม ผลไม้ เพื่อช่วยเพิ่มรสชาติ แต่แนะนำให้เลือกแยมที่มีรสหวานน้อย หรือไม่มีน้ำตาล
7. ข้าวโพดคั่ว
ข้าวโพดคั่ว หรือ ป๊อปคอร์น เป็นของว่างที่มีใยอาหารสูง ผู้สูงอายุส่วนใหญ่คุ้นชิ้นกับอาหารว่างชนิดนี้ เนื่องจากหาซื้อได้สะดวก และสามารถรับประทานได้ง่าย ทำให้อิ่มท้องนาน มีสารต้านอนุมูลอิสระชนิดเดียวกับข้าวโพดสดและผลไม้สดชนิดอื่น ๆ นั่นคือ “Polyphenal” ไม่แนะนำข้าวโพดคั่วที่ปรุงรสต่างๆ รสหวาน รสเค็ม รสคาราเมล เนื่องจากมีปริมาณโซเดียม และน้ำตาลทรายค่อนข้างมากซึ่งมีผลเสียต่อร่างกาย
8. ถั่ว
ในผู้สูงอายุ ที่ไม่มีปัญหาการเคี้ยว การรับประทานถั่วอบแห้งชนิดต่างๆ เป็นอาหารว่าง ก็สามารถช่วยเสริมสร้างสุขภาพได้ เพราะถั่วเป็นแหล่งโปรตีนจากพืชชั้นเลิศ มีสารต้านอนุมูลอิสระ ทำให้สมองและระบบภูมิคุ้มกันทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ถั่วยังมีแมกนีเซียม และโพแทสเซียมสูง ซึ่งมีส่วนสำคัญในการทำงานหัวใจ
อย่างไรก็ตามเพื่อให้อาหารว่าง เป็นเมนูเพื่อสุขภาพ และเติมเต็มสารอาหารที่อาจจะขาดหายไปจากเมนูมื้อหลัก จึงควรให้ความสำคัญและรู้จักคัดสรรวัตถุดิบอาหารว่างที่มีคุณประโยชน์ต่อผู้สูงอายุ ซึ่งยังมีเมนูอีกมากมาย เพียงแต่ผู้ดูแลต้อง คำนึงถึงสารอาหารที่เหมาะสมที่ผู้สูงอายุควรได้รับ โดยไม่เกินความพอดี รวมถึงความสะอาด ปลอดภัย เป็นหลัก
DID YOU NO !!
ผู้สูงอายุควรหลีกเลี่ยงอาหารว่างประเภทของทอดที่ใช้น้ำมันมาก เช่น กล้วยทอด มันทอด หรือไข่นกกระทาทอด เนื่องจากมีไขมันสูงทำให้ ผู้สูงอายุอาจมีน้ำหนักเกิน หรือเป็นโรคอ้วนได้ รวมถึงขนมหวานหรือน้ำหวาน อาจส่งผลให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง