การดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะใกล้เสียชีวิต อะไรบ้างที่ญาติทำให้ได้ ?
“โรคมะเร็ง” เป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อร่างกาย ก่อให้เกิดการเสื่อมถอย เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ในร่างกาย ที่มาจากหลายสาเหตุ เช่น พันธุกรรม สิ่งแวดล้อม พฤติกรรมการดำเนินชีวิต และอีกหลายปัจจัย โรคมะเร็งมีหลายระยะอาการ แต่ระยะที่ยากต่อการดูแลรักษา คือ มะเร็งระยะสุดท้าย
มะเร็งระยะสุดท้าย คืออะไร ?
มะเร็งระยะสุดท้าย (End stage cancer) คือ มะเร็งที่มีการลุกลามไปตามอวัยวะอื่น ๆ ที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ และมักพบว่าผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย มีอาการค่อนข้างซับซ้อน และหนัก ส่งผลให้คุณภาพชีวิตผู้ป่วยลดลงทั้งร่างกายและจิตใจ และมีโอกาสเสียชีวิตสูง ในระยะเวลาอันสั้น
มะเร็งมีกี่ระยะ แต่ละระยะมีอาการอย่างไร ?
ในทางการแพทย์ มะเร็งแบ่งออกเป็นระยะต่าง ๆ ซึ่งจะมีอาการและขนาดแตกต่างกัน ดังนี้
ระยะที่ 0: มะเร็งยังไม่ได้เจริญเติบโตเข้าไปในเนื้อเยื่อที่ปกติ แต่มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็ง
ระยะที่ 1: มะเร็งเริ่มเจริญเติบโตในเนื้อเยื่อ แต่ยังไม่แพร่กระจายไปยังเนื้อเยื่อใกล้เคียง
ระยะที่ 2: มะเร็งเริ่มแพร่กระจายไปยังเนื้อเยื่อใกล้เคียง แต่ยังไม่มีการกระทำต่อเนื้อเยื่ออื่น ๆ
ระยะที่ 3: มะเร็งมีการกระจายออกไปยังต่อมน้ำเหลือง มีก้อนเนื้อ หรือ แผลมะเร็งมีขนาดใหญ่ขึ้น
ระยะที่ 4: มะเร็งระยะสุดท้ายที่มีการแพร่กระจายไปยังเนื้อเยื่ออื่น ๆ ในร่างกาย หรือเรียกว่าการลุกลามแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นเช่น ช่องท้อง ตับ ลำไส้ กระดูก สมอง หรือปอด เป็นต้น โดยเซลล์มะเร็งมีการแบ่งตัว เติบโต นอกเหนือการควบคุมจากร่างกาย
การที่เราทราบข้อมูลและเข้าใจถึงระยะต่าง ๆ ของโรคมะเร็งเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้แพทย์และตัวผู้ป่วยสามารถรับมือ วางแผนการรักษาและพยากรณ์โรคได้อย่างเหมาะสม โดยเฉพาะมะเร็งระยะสุดท้าย ที่ต้องให้การดูแลเอาใจใส่อย่างเหมาะสม เพื่อคงคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้ป่วยตลอดระยะสุดท้ายของชีวิตได้อย่างไม่ทุกข์ทรมาน
อาการผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ที่พบได้บ่อย ๆ
ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย มักจะมีอาการแสดงมากกว่าหนึ่งอาการ ซึ่งมีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย เช่น
- อ่อนเพลีย ไม่มีแรง เหนื่อยหอบ
- อาการปวด เจ็บ ที่อาจมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น
- นอนไม่หลับ
- เบื่ออาหาร รับประทานอาหารไม่ได้
- เวียนศีรษะ คลื่นไส้
- มีอาการทางเดินหายใจที่ผิดปกติ
- อาการผิดปกติทางจิตใจเช่นซึมเศร้า
นอกจากนี้อาการโรคมะเร็งระยะสุดท้ายก่อนเสียชีวิต ในแต่ละประเภทมะเร็งยังอาการอื่น ๆ แตกต่างกันไป
รับมือผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายอย่างไร ?
เมื่อผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย มีอาการที่ซับซ้อน การดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย จึงมุ่งเน้นไปที่การดูแลแบบประคับประคอง (Palliative Care) หรือ การรักษาตามอาการ เป้าหมายคือการบรรเทาความเจ็บปวด ลดความทุกข์ทรมาน และช่วยส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมไปถึงการดูแลรักษาอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ทั้งจากตัวโรคมะเร็ง และอาการข้างเคียง ที่เกิดขึ้นจากการรักษาโรคร่วมด้วย โดยแนวทางการดูแลที่เหมาะสมต้องอาศัยแผนการดูแลจากทีมแพทย์ และความร่วมมือจากครอบครัวหรือญาติ ในการดูแลผู้ป่วยร่วมกัน
ทางเลือกในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย
- ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่บ้าน
การดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ในแต่ละเคส ในแต่ละครอบครัวอาจมีความพร้อมแตกต่างกัน ในผู้ป่วยบางรายอาจต้องการพักผ่อนและใช้ชีวิตในช่วงสุดท้ายในสถานที่ที่คุ้นเคย มีญาติหรือคนในครอบครัวที่มีความพร้อม ทั้งเรื่องของเวลาการดูแลผู้ป่วย ความรู้ความเข้าใจในอาการของผู้ป่วย รวมถึงลักษณะอาการของผู้ป่วยอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถอยู่ที่บ้านได้ ก็สามารถดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่บ้านได้ โดยยังติดตามผล มีการปรึกษาทีมแพทย์ผู้ดูแลอยู่เสมอ
- ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่โรงพยาบาล
สำหรับบางครอบครัวที่ไม่มีความพร้อม ญาติหรือคนในครอบครัวไม่สามารถดูแลผู้ป่วยได้ตลอด 24 ชั่วโมง การตัดสินใจเลือกใช้บริการจากทางโรงพยาบาลที่พร้อมให้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายแบบ Palliative care ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ หรือในกรณีที่ผู้ป่วยบางรายที่มีอาการหนักมาก การอยู่ในการดูแลของทีมแพทย์และทีมพยาบาลอย่างใกล้ชิด ก็จะช่วยอำนวยความสะดวก ลดความกังวล ด้านการช่วยเหลือได้มาก
หากคุณและครอบครัวกำลังมองหาสถานที่สำหรับดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ศูนย์ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย Palliative Care พยาบาลพญาไท 3 เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่พร้อมการดูแลเสมือนอยู่บ้าน
วิธีการรับมือดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ต้องอาศัยความละเอียดอ่อนและต้องดูแลกันแบบประคับประคอง อย่างใกล้ชิด เข้าใจอาการทางร่างกาย เข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของผู้ป่วย เพื่อวางแผนรับมือช่วยเหลือผู้ป่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และจากไปได้อย่างสงบสุข
สอบถามรายละเอียดหรือปรึกษาเพิ่มเติมได้ที่
LINE OA@phyathai3family