การมีลูกยาก เป็นปัญหาของคู่แต่งงานหลายคู่ในปัจจุบัน แต่ด้วยพัฒนาการทางการแพทย์ในปัจจุบันทำให้เกิดเทคโนโลยี
การแช่แข็งตัวอ่อนเป็นส่วนหนึ่งในขั้นตอนการรักษาภาวะมีบุตรยาก โดย พญ.เยาวภา จงเป็นสุขเลิศ แพทย์หัวหน้าศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากและศูนย์สุขภาพหญิง โรงพยาบาลพญาไท 3 อธิบายว่า หลังจากมีการกระตุ้นไข่ ดูดเก็บไข่แล้ว เราสามารถแช่แข็งตัวอ่อนไว้ก่อนเพื่อประโยชน์ในการรักษาหลายอย่าง
4 ประโยชน์ ของการแช่แข็งตัวอ่อน
- เพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ – ทั่วโลกยอมรับว่าการใส่ตัวอ่อนกลับเข้าโพรงมดลูกโดยใช้ตัวอ่อนที่ผ่านการแช่แข็ง ช่วยเพิ่มโอกาสของการตั้งครรภ์เมื่อเทียบกับการใส่ตัวอ่อนในรอบกระตุ้น เพราะร่างกายได้รับฮอร์โมนสูงกว่าปกติในช่วงที่มีการกระตุ้นไข่ ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกมีความพร้อมในการรับตัวอ่อนลดลง
- ลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน – การแช่แข็งตัวอ่อนช่วยเพิ่มความปลอดภัยของผู้รับการรักษาที่มีภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นเกิน และลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น อืดแน่นท้อง ภาวะท้องบวมน้ำ หรือ โปรตีนในเลือดต่ำ เป็นต้น
- ลดความเสี่ยงโรคทางพันธุกรรม – การตรวจพันธุกรรมตัวอ่อนก่อนการฝังเพื่อหาความผิดปกติจากโรคทางพันธุกรรม หรือความผิดปกติของโครโมโซม มีขั้นตอนการตรวจที่ซับซ้อน อาศัยเทคโนโลยีที่ละเอียดอ่อน และต้องใช้เวลาในการตรวจและแปลผลนานเกินระยะสำหรับฝังตัวอ่อน แต่การแช่แข็งตัวอ่อน ทำให้มีเวลามากพอในการตรวจและพิจารณาคัดเลือกตัวอ่อนที่ปกติกลับไปฝังในโพรงมดลูก เพื่อให้ได้ทารกที่มีร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรง
- วางแผนการตั้งครรภ์ได้ตามความต้องการ – กรณีที่คู่สมรสยังไม่พร้อมตั้งครรภ์หลังจากที่มีการกระตุ้นไข่ และกลับมาใส่ตัวอ่อนในรอบแช่แข็งอีกครั้งเมื่อพร้อมได้ ทำให้กำหนดช่วงเวลาตั้งครรภ์ได้ตามความต้องการ
แพทย์หญิงเยาวภา จงเป็นสุขเลิศ
แพทย์หัวหน้าศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากและศูนย์สุขภาพหญิง
โรงพยาบาลพญาไท 3 แผนกสูตินรีเวช โทร 1772 หรือ 0-2467-1111 ต่อ 3252, 3264
www.phyathai3hospital.com หรือ http://www.facebook.com/phyathai3family