คำแนะนำจากแพทย์เกี่ยวกับโรคซึมเศร้า คืออะไร เกิดสาเหตุใด มีอาการอย่างไร กระทบกับชีวิตอย่างไร พร้อมรู้แนวทางรักษาป้องกันอย่างถูกวิธี
โรคซึมเศร้าคืออะไร ? อาการอย่างไร รู้สาเหตุและวิธีรักษาฟื้นฟู เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
โรคซึมเศร้า เป็นหนึ่งในโรคทางจิตเวชที่พบได้บ่อย เนื่องจากปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจำนวนมากที่เข้าถึงการรักษา สื่อและบุคคลสาธารณะมีการกล่าวถึงโรคนี้กันเพิ่มขึ้น โรคซึมเศร้าสามารถรักษาให้อาการกลับเป็นปกติได้ แต่ในผู้ป่วยบางรายที่โรคซึมเศร้ารุนแรง อาจมีความเสี่ยงต่อการทำร้ายตนเองได้ เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้ รู้สาเหตุ และสามารถสังเกตอาการได้ พร้อมทราบเนวทางป้องกัน รักษาอย่างถูกวิธี เรามีข้อมูลทั้งหมดนี้มาแนะนำ
สารบัญ โรคซึมเศร้า
- โรคซึมเศร้าคืออะไร ?
- โรคซึมเศร้ามีอาการอย่างไร ?
- โรคซึมเศร้าสาเหตุเกิดอะไร ?
- โรคซึมเศร้าส่งผลกระทบอะไรบ้าง ?
- โรคซึมเศร้ารักษาอย่างไรได้บ้าง ?
โรคซึมเศร้าคืออะไร ?
โรคซึมเศร้า คือ โรคทางจิตเวชที่มีอาการผิดปกติของอารมณ์ ส่งผลให้เกิดความอารมณ์ พฤติกรรม และความคิดเปลี่ยนไป จนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ปัจจุบันโรคนี้สามารถรักษาหายได้ ด้วยการใช้ยา รวมถึงการรักษาฟื้นฟูหรือบำบัดทางจิตใจ
โรคซึมเศร้ามีอาการอย่างไร ?
อาการของโรคซึมเศร้า มีดังนี้
- รู้สึกเศร้า ท้อแท้ไม่มีความสุข
- เบื่อหน่าย ไม่อยากทำอะไร ความสนใจในกิจกรรมต่าง ๆ ลดลงอย่างมาก
- เบื่ออาหารหรือเจริญอาหารมากกว่าปกติจนน้ำหนักลดลงหรือเพิ่มขึ้นอย่างมาก
- นอนไม่หลับ หรือหลับมากเกินไป
- อ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายไม่ค่อยมีแรง
- กระวนกระวาย อยู่ไม่สุข หรือเชื่องช้าลง
- สมาธิลดลง หรือตัดสินใจได้ช้าลง
- รู้สึกผิด หรือโทษตัวเองอย่างมาก มองโลกในแง่ลบ รู้สึกตัวเองไร้ค่า
- คิดวนเวียนเกี่ยวกับการทำร้ายตนเอง หรือคิดอยากตาย
โดยผู้ที่มีอาการอย่างน้อย 5 ข้อ เป็นเกือบทุกวันในระยะเวลา 2 สัปดาห์ขึ้นไป จะเรียกกว่ามีภาวะซึมเศร้า หากแยกสาเหตุ หรือโรคอื่นที่มีอาการคล้ายกันออกไปได้ ผู้ป่วยที่มีอาการข้างต้น จะได้รับการวินิจฉัยว่าโรคซึมเศร้า (1)
โรคซึมเศร้ามีอาการอย่างไร ?
อาการของโรคซึมเศร้า มีดังนี้
- รู้สึกเศร้า ท้อแท้ไม่มีความสุข
- เบื่อหน่าย ไม่อยากทำอะไร ความสนใจในกิจกรรมต่าง ๆ ลดลงอย่างมาก
- เบื่ออาหารหรือเจริญอาหารมากกว่าปกติจนน้ำหนักลดลงหรือเพิ่มขึ้นอย่างมาก
- นอนไม่หลับ หรือหลับมากเกินไป
- อ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายไม่ค่อยมีแรง
- กระวนกระวาย อยู่ไม่สุข หรือเชื่องช้าลง
- สมาธิลดลง หรือตัดสินใจได้ช้าลง
- รู้สึกผิด หรือโทษตัวเองอย่างมาก มองโลกในแง่ลบ รู้สึกตัวเองไร้ค่า
- คิดวนเวียนเกี่ยวกับการทำร้ายตนเอง หรือคิดอยากตาย
โดยผู้ที่มีอาการอย่างน้อย 5 ข้อ เป็นเกือบทุกวันในระยะเวลา 2 สัปดาห์ขึ้นไป จะเรียกกว่ามีภาวะซึมเศร้า หากแยกสาเหตุ หรือโรคอื่นที่มีอาการคล้ายกันออกไปได้ ผู้ป่วยที่มีอาการข้างต้น จะได้รับการวินิจฉัยว่าโรคซึมเศร้า (1)
โรคซึมเศร้า สาเหตุเกิดอะไร ?
โรคซึมเศร้า สามารถเกิดได้กับทุกเพศ ทุกวัย โดยสาเหตุการเกิดโรคแบ่งได้เป็น 3 ปัจจัย คือ
- ปัจจัยทางชีวภาพ ได้แก่ ปัจจัยด้านพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของสารสื่อประสาทในกลุ่ม monoamines (ประกอบด้วย serotonin, norepinephrine และ dopamine) ประวัติในครอบครัว โดยเฉพาะญาติสายตรงที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า จะมีโอกาสป่วยภาวะซึมเศร้าได้มากกว่าคนทั่วไป การใช้ยาบางชนิดเป็นประจำ เช่น สเตียรอยด์ ยาเบนโซไดอะซีปีน เป็นต้น ตัวยาอาจทำให้ก่อให้เกิดภาวะซึมเศร้า รวมไปถึงโรคทางกายที่มีผลทำให้เกิดการอับเสบ หรือระบบฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุล เช่น ภาวะไทรอยด์ต่ำ เป็นต้น หรือโรคทางสมอง เช่น โรคหลอดเลือดในสมองตีบ เป็นต้น
- ปัจจัยด้านจิตใจ ได้แก่ ลักษณะนิสัย บุคลิกภาพที่ไม่ยืดหยุ่น หรือการมองตัวเองและสิ่งรอบตัวในแง่ลบ มีผลทำให้เป็นโรคซึมเศร้าได้มากกว่า
- สภาพแวดล้อมหรือเหตุการณ์ที่เผชิญ: การที่ต้องเผชิญกับเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ เช่น การสูญเสีย ที่ส่งผลต่อสภาพจิตใจ เช่น ความผิดหวัง หรือความสิ้นหวัง ถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลือที่เหมาะสมอาจจะนำไปสู่โรคซึมเศร้าได้
ปัจจัยเสี่ยงของโรคซึมเศร้า ตามกลุ่มอายุ/เพศ
ผู้หญิง เพศหญิงมีความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเช่น การมีประจำเดือน การตั้งครรภ์ ภาวะหลังคลอด วัยทอง เป็นต้น
ผู้ชาย จะมีโรคร่วมอื่น ๆ เช่น การใช้สารเสพติดมากกว่าเพศหญิง หากโรคซึมเศร้ามีความรุนแรงจนมีความคิดอยากตาย อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จจะสูง
ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมาด้วยอาการทางกาย วิตกกังวลง่าย คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็นภาวะปกติของผู้สูงอายุ ทำให้ภาวะซึมเศร้าอาจถูกละเลย นอกจากนี้ ผู้สูงอายุ เมื่อมีภาวะซึมเศร้า จำเป็นต้องหาสาเหตุทางร่างกายหรือยาบางอย่างที่ทำให้มีอาการคล้ายโรคซึมเศร้า
โรคซึมเศร้าส่งผลกระทบอะไรบ้าง ?
โรคซึมเศร้าล้วนมีผลกระทบทั้งด้านร่างกาย ความคิด ไปจนถึงคุณภาพชีวิตโดยรวมของทั้งผู้ป่วยผู้ป่วยโรคซึมเศร้า และบุคคลใกล้ชิด
ผลกระทบต่อร่างกาย: ผู้ป่วยโรคนี้ มีความเสียงที่จะมีโรคทางกายมากกว่าคนทั่วไป หรืออาจทำให้สุขภาพกายแย่ลง ซึ่งมีสาเหตุจากหลายปัจจัย เช่น น้ำหนักที่ผันผวน การนอนพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ หรือไม่มีคุณภาพ
ผลต่อความคิด ความจำ และการตัดสินใจ ในผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้า สมาธิในการทำงาน หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ลดลง มักมีความคิดหรือการจดจ่อต่อเหตุการณ์ในเชิงลบ ซึ่งส่งผลต่อการตัดสินใจ และการแก้ปัญหา บางรายอาจมีความคิดอยากตาย หรือทำร้ายตนเอง
ผลต่อคุณภาพชีวิต: คุณภาพ โรคซึมเศร้าทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ความสามารถในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ลดลง อาจะต้องพึ่งพาบุคคลอื่นมากขึ้น หรือส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วย และคนใกล้ตัวได้
โรคซึมเศร้ารักษาอย่างไรได้บ้าง ?
วิธีการรักษาอาการของโรคซึมเศร้า มี 3 วิธีหลัก ได้แก่
- การรักษาด้วยยา : ยาต้านเศร้า เพื่อปรับระดับสารเคมีในสมองให้สมดุล กลุ่มยาต้านเศร้าในปัจจุบันมีหลายกลุ่ม ไม่ว่าเป็น Selective Serotonin Reuptake Inhibitors (SSRIs) หรือ Serotonin and Noradrenaline Reuptake Inhibitors (SNRIs) ซึ่งจะมีการสั่งจ่ายโดยแพทย์ การเลือกใช้ชนิดของยาต้านเศร้าพิจารณาจากปัจจัยหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นของอาการของผู้ป่วย โรคร่วม วิธีการบริหารยา เป็นต้น โดยระยะเวลาในการรับประทานยาจะแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย ส่วนใหญ่เมื่อผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นแล้ว มักแนะนำให้รับประทานยาต่อไปอีกอย่างน้อย 1-2 ปี เพื่อลดอัตราการกลับมาเป็นซ้ำของโรค (2)
- การรักษาทางจิตใจ การทำจิตบำบัด: เป็นการบำบัดพฤติกรรมและความคิด บางรายอาจเน้นการจัดการกับอารมณ์เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยเกิดความเข้าใจในตัวเอง และเข้าใจปัญหา จนสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมและมุมมองต่อปัญหาได้ การรักษาลักษณะนี้ จำเป็นต้องอาศัยเวลาในการรักษาเช่นกัน สามารถทำคู่ไปกับการรับประทานยาได้
- การรักษาด้วยการกระตุ้นสมอง: ประกอบด้วยการรักษาด้วยกระแสไฟฟ้ากระตุ้นเซลล์ประสาท (Electroconvulsive Therapy or ECT) และการรักษาด้วยสนามแม่เหล็ก (Transcranial Magnetic Stimulation or TMS) การรักษาทั้งสองวิธีนี้ ไม่ได้เหมาะกับผู้ป่วยทุกราย จำเป็นต้องพิจารณาถึงข้อบ่งชี้และข้อควรระวังบางประการ
โรคซึมศร้าเป็นโรคที่รักษาให้หายได้ หัวใจสำคัญ คือ การยอมรับและเข้ารับการรักษา แพทย์อาจเริ่มการรักษาด้วยการให้คำปรึกษา การทำจิตบำบัดเพื่อช่วยเหลือชี้แนะในการเปลี่ยนความคิด หรือปรับตัวต่อปัญหา และการให้ยาต้านเศร้า ผู้ป่วยที่เข้าสู่การรักษา ควรรักษาต่อเนื่อง พร้อมกับทำความเข้าใจตนเองและตัวโรค เหล่านี้จะเป็นปัจจัยที่นำไปสู่การหายขาดจากโรคนั่นเอง
หากเช็กอาการแล้วรู้สึกเข้าข่ายเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า แนะนำให้ปรึกษาจิตแพทย์ เพื่อวางแผนการรักษา โดยคลินิกจิตเวช โรงพยาบาลพญาไท 3 พร้อมให้คำแนะนำและให้คำปรึกษากับผู้ที่มีปัญหาทางด้านสุขภาพจิต ดูแลโดยจิตแพทย์ และทีมงานที่มีประสบการณ์ พร้อมด้วยแพทย์ด้านประสาทวิทยา นักจิตวิทยาและพยาบาลที่จะดูแลให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด
References
(1) American Psychiatric Association. Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders, Fourth Edition Text Revision, 4th edn Text Revision. Washington, DC: American Psychiatric Publishing, 2000.
(2) Geddes JR, Carney SM, Davies C, et al. (2003) Relapse prevention with antidepressant drug treatment in depressive disorders: a systematic review. The Lancet, 361, 653– 61.
ผศ.พญ.กิติกานต์ ธนะอุดม
คลินิกจิตเวช รพ.พญาไท 3
02-467-1111 ต่อ 3262