โรคมะเร็งใคร ๆ ก็มองว่าเป็นโรคที่น่ากลัวเป็นโรคของการสูญเสียใครที่เป็นก็เสมือนยืนอยู่บนความโชคร้าย
และนอกจากสิ่งเหล่านี้ ผู้ป่วยโรคมะเร็งต่างกลัวที่สุด คือ “ความปวด” เพราะคืออาการที่สร้างความทรมานให้กับชีวิต
ดังนั้น คงจะดีกว่า ถ้าเราจะมอง “โรคมะเร็ง” ในมุมใหม่บนพื้นฐานของความเป็นจริงว่า “โรคมะเร็งเป็นโรคเรื้อรัง” ที่สามารถรักษาได้ในหลายกรณี ดูแลได้ถ้าทำอย่างถูกต้อง และแน่นอนว่า “ความปวด” ก็เช่นเดียวกัน สามารถระงับปวดได้ดีด้วยเทคนิคการรักษาที่ทันสมัย ผสมผสานกับความเชี่ยวชาญของแพทย์เฉพาะทาง
…เริ่มต้นเปิดโลกใบใหม่กับปัญหาความปวด ที่เราควบคุมได้…“ความปวด” สิ่งที่คนเป็นมะเร็งต่างกลัว
อาการปวดอาจเป็นอาการแรก ๆ ของโรคมะเร็ง และอาการปวดมักจะมีมากขึ้นตามอาการของโรค โดยเฉพาะมะเร็งในระยะแพร่กระจาย ซึ่ง 70-80% ของผู้ป่วยในระยะนี้อาจมีอาการปวด นอกจากนี้สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งแล้ว “ความปวด” คือสิ่งหนึ่งที่คนไข้มะเร็งกังวลมากที่สุดนอกเหนือจากกลัวว่าจะรักษาไม่หาย และการเสียชีวิต
คนไข้มะเร็งมีอาการปวดจากสาเหตุใดบ้าง ?
อาการปวดเพราะโรคมะเร็ง พบได้ในผู้ป่วยโรคมะเร็งที่อยู่ในระยะลุกลาม แต่ต้องทำความเข้าใจเบื้องต้นก่อนว่า ก้อนมะเร็งเองนั้นมักไม่ได้ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวด เพียงแต่เมื่อก้อนมะเร็งลุกลาม และไปกดเบียดอวัยวะอื่น ๆ เช่น ลุกลามไปที่กระดูก มีการกดทับเส้นประสาท จึงทำให้มีอาการปวดอย่างมากกับจุดเหล่านั้นได้
อาการปวดเพราะผลข้างเคียงจากการรักษา เช่น
- การให้เคมีบำบัด อาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปวดปลายประสาท
- การฉายรังสีรักษา ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวด ณ บริเวณที่มีการฉายรังสีรักษา
- การผ่าตัดรักษา บางกรณีมีอาการปวดหลังจากการผ่าตัด
ทางเลือกเพื่อระงับปวด
การดูแลระงับปวดให้กับคนไข้มะเร็งมีความแตกต่างกัน จึงต้องซักประวัติ ตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดและถูกต้อง เพื่อให้ทราบถึงที่มาของอาการปวดที่แน่ชัด ระดับความปวดเป็นเช่นไร รวมถึงรายละเอียดข้อจำกัดของคนไข้แต่ละราย ก่อนเลือกแนวทางการรักษาที่เหมาะสม
หัตถการลดปวด ตอบโจทย์ในหลากมิติคนไข้มะเร็ง วิธีที่ใช้ในการรักษาอาการปวดโณคมะเร็งมีหลายวิธี ได้แก่
- การรักษาด้วยยาบรรเทาอาการปวด เช่น กลุ่มมอร์ฟีน ส่วนใหญ่หากปวดจากโรคมะเร็งจะมีอาการค่อนข้างรุนแรง การระงับปวดด้วยยาบรรเทาอาการปวดทั่วไปจะไม่ค่อยได้ผล จึงต้องใช้ยาที่ค่อนข้างแรง เช่น มอร์ฟีน ซึ่งยากลุ่มนี้หากใช้ในปริมาณน้อยจะไม่มีผลกระทบ แต่กรณีที่ต้องปรับขนาดเพื่อใช้มากขึ้นเรื่อย ๆ ย่อมมีผลข้างเคียงได้ เช่น ท้องผูก คลื่นไส้ อาเจียน และในส่วนของผลข้างเคียงที่รุนแรง ได้แก่ การหยุดหายใจการพิจารณาว่าควรใช้ยากลุ่มใด รูปแบบไหนจะเป็นชนิดทาน ฉีด หรือแปะ ปริมาณเท่าใด จึงเป็นสิ่งสำคัญในผู้ป่วยกลุ่มนี้ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเป็นผู้พิจารณาโดยคำนึงถึงชนิดของมะเร็งที่ผู้ป่วยเป็น ระยะของโรค สถานการณ์ของผู้ป่วยในทุก ๆ ด้านเป็นสำคัญทั้งนี้ จุดเด่นของศูนย์ระงับปวด โรงพยาบาลพญาไท 3 กับการระงับปวดผู้ป่วยโรคมะเร็งสำหรับการใช้ยาบรรเทาอาการปวด คือ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางจะเป็นผู้ควบคุม ดูแลการปรับปริมาณการใช้ยา จึงมีประโยชน์อย่างมากในการช่วยหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากยาได้เป็นอย่างดี
- การทำหัตถการระงับปวด เช่น การสกัดความปวดมะเร็งที่ปมประสาท การฉีดทำลายเส้นประสาท Celiac การทำหัตถการจึงเป็นตัวช่วยที่ดีในการระงับปวดโรคมะเร็ง โดยเฉพาะในโรคมะเร็งบางชนิดที่ทำให้มีอาการรุนแรง อาทิ มะเร็งตับอ่อนและช่องท้องส่วนบน ที่จะมีอาการปวดทรมานอย่างมาก การทำลายเส้นประสาท Celiac (Celiac Plexus Blockade) ซึ่งเป็นการฉีดระงับเส้นประสาทที่เลี้ยงบริเวณช่องท้องโดยเป็นเส้นประสาทที่เลี้ยงเฉพาะบริเวณที่ปวดเท่านั้น ถึงแม้จะเป็นการทำลายเส้นประสาท แต่ไม่มีผลกระทบกับการเคลื่อนไหวใด ๆ ดังนั้น จึงหมดกังวลไปได้เลยว่าทำแล้วจะส่งผลให้เดินไม่ได้ หรือมีปัญหาเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของร่างกายหัตถการระงับปวด นอกจากจะเป็นวิธีที่สามารถช่วยลดอาการปวดแล้ว ยังช่วยลดการใช้มอร์ฟีน ลดผลข้างเคียงที่จะเกิดจากมอร์ฟีน เพิ่มความสุขสบายและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งได้ การทำหัตถการบางอย่างช่วยระงับปวดได้เป็นเวลานาน เช่น การฉีดแอลกอฮอล์หรือการจี้ด้วยคลื่นความร้อน สามารถช่วยระงับการปวดได้นานประมาณ 6-9 เดือน เลยทีเดียวสุดท้ายแล้วผู้ป่วยสามารถมั่นใจได้เลยว่า จะได้รับการรักษาที่เหมาะกับตนเองอย่างแท้จริง เพราะถึงแม้จะมีหัตถการที่ดีหลายวิธีในการระงับปวด แต่แพทย์จะต้องเลือกหัตถการที่เหมาะสมกับระยะของโรค และพิจารณาถึงข้อห้ามในการทำหัตถการสำหรับผู้ป่วยแต่ละรายก่อนทำการรักษาเสมอ เพื่อประโยชน์สูงสุดของการระงับปวดด้วยหัตถการ
สิ่งที่เรามุ่งหวังในการระงับความปวดให้กับคนไข้ นอกจากช่วยให้อาการปวดดีขึ้นแล้ว ยังมุ่งหวังให้คนไข้มีคุณภาพชีวิตที่ดี เพราะความปวดสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง ไม่ได้เป็นแค่อาการปวดที่ส่งผลทางร่างกายเท่านั้น แต่สามารถเชื่อมโยงไปถึงเรื่องอารมณ์ ปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้าง และขณะเดียวกันบุคคลรอบข้างก็อาจเกิดความเครียดจากปัญหาของผู้ป่วยได้เช่นเดียวกัน เราจึงคาดหวังเสมอว่า เมื่อผู้ป่วยมะเร็งไม่ต้องเผชิญกับความปวดทั้งในระยะที่ทำการรักษาหรือระยะท้ายของตัวโรค การดูแลโดยทีมงานที่เชี่ยวชาญและเอาใจใส่จะช่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุขกับการใช้ชีวิตที่มากขึ้นของทั้งผู้ป่วยและบุคคลใกล้ชิด
ผศ.นพ. นันตสรณ์ สิญจน์บุณยะกุล
ศูนย์ระงับปวด โรงพยาบาลพญาไท 3