เจ็บส้นเท้าเรื้อรัง เวลาเดิน วิ่ง หรือทำกิจกรรม อาจมีเสี่ยงโรค “เอ็นร้อยหวายอักเสบ” ซึ่งมักพบได้บ่อย ๆ บ่อยในนักกีฬา หรือผู้ที่ใช้งานข้อเท้าบ่อย ๆ ใช้งานซ้ำ ๆ ที่สำคัญคืออาการเหล่านี้มักเป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิตในแต่วัน เพราะเคลื่อนไหวเท้าได้ลำบาก
เอ็นร้อยหวายอักเสบ รักษาได้อย่างไร ? รู้สาเหตุ อาการ และแนวทางการป้องกันรักษา เพื่อลดความเสี่ยง
สารบัญ เอ็นร้อยหวานอักเสบ
- เอ็นร้อยหวานอักเสบ มีอาการอย่างไร ?
- เอ็นร้อยหวายอักเสบเกิดจากสาเหตุใด ?
- วิธีการตรวจวินิจฉัย อาการอ็นร้อยหวายอักเสบ
- วิธีการรักษาเอ็นร้อยหวายอักเสบมีกี่วิธี อะไรบ้าง ?
- รักษาเอ็นร้อยหวายอักเสบแบบไม่ผ่าตัด
- รักษาผ่าตัดเอ็นร้อยหวานอักเสบ
- การรักษาผ่าตัดเอ็นร้อยไหมอักเสบ มีข้อดีอย่างไร ?
- ผ่าตัดเอ็นร้อยไหมอักเสบ หายขาดไหม ?
- เอ็นร้อยหวายอักเสบ หากไม่รักษาอันตรายไหม ?
- หลังผ่าตัดอ็นร้อยหวายอักเสบ กี่วันหาย ดูแลตัวเองอย่างไร ?
- วิธีป้องกันเอ็นร้อยหวายอักเสบ
เอ็นร้อยหวานอักเสบ มีอาการอย่างไร ?
เอ็นร้อยหวายอักเสบ (Achilles Tendinosis) เป็นลักษณะอาการเจ็บปวด ของเส้นเอ็น (Overuse Injury) ที่เกิดจากการสะสม ไม่ได้เกิดแบบเฉียบพลันทัน โดยอาการที่พบได้บ่อย ๆ คือ
- รู้สึกเจ็บ ปวดเอ็นร้อยหวาย ร้อน บริเวณเอ็นร้อยหวายขณะใช้งาน
- บวมบริเวณรอบ ๆ ข้อเท้า
- เจ็บส้นเท้าเรื้อรัง เจ็บปวดเมื่อก้าวเดิน วิ่ง หรือเหยียบลงกับพื้น
- เคลื่อนไหวข้อเท้าได้ลำบากขึ้น เช่น งอเท้า เหยียดเท้า
- ในระยะที่เป็นเรื้อรัง อาจมีการหินปูนเกาะสะสม โดยรู้สึกเหมือนมีก้อนนูนที่บริเวณเอ็นร้อยหวาย
ลักษณะอาการเหล่านี้ ส่งผลกระทบต่อการเดิน การวิ่ง หรือการทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้
ข้อควรรู้ : เอ็นร้อยหวาย คือ เส้นเอ็นที่อยู่บริเวณด้านหลังของน่อง เป็นเส้นเอ็นที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีความแข็งแรง ทำหน้าที่เป็นเหมือนสปริงที่ตึงขึ้นเพื่อช่วยลดแรงกระแทก เมื่อเราเคลื่อนไหว ลุกขึ้นยืน เดิน วิ่ง หรือกระโดด
เอ็นร้อยหวายอักเสบเกิดจากสาเหตุใด ?
- การใช้งานข้อเท้าหนักเกินไป ไม่ว่าจะเป็นการยืนนาน ๆ เดินเยอะ ออกกำลังกายในท่าซ้ำ ๆ จนทำให้เกิดการตึงและบาดเจ็บ
- ออกกำลังกายหนักเกินไป โดยเฉพาะการวิ่งระยะทางไกล การเล่นกีฬาโดยเฉพาะกีฬาที่มีการเร่งและชะลอความเร็ว หรือกีฬาที่มีการกระโดดบ่อย ๆ
- สวมรองเท้าที่ไม่เหมาะสม หรือสวมรองเท้าเก่าจนสึกหรอ
- พื้นผิวในการวิ่ง เดิน หรือออกกำลังกายที่ไม่เหมาะสม
- มีน้ำหนักตัวมากจนกดทับข้อเท้า
- อุบัติเหตุบริเวณข้อเท้า เช่น หัก ร้าว หรือบาดเจ็บจากการกระแทก
- โรคเรื้อรัง เช่น โรคข้ออักเสบ โรคเบาหวาน โรคไขข้ออักเสบ
วิธีการตรวจวินิจฉัย อาการเอ็นร้อยหวายอักเสบ
เมื่อมีอาการต้องสงสัย เสี่ยงเอ็นข้อเท้าอักเสบ วิธีการตรวจวินิจฉัย มีดังนี้
- ซักประวัติและตรวจร่างกายเบื้องต้น
- การตรวจการเอกซเรย์ (X-Ray) หรือ การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)เพื่อระบุความผิดปกติของเส้นเอ็นและเนื้อเยื่อรอบ ๆ
วิธีการรักษาเอ็นร้อยหวายอักเสบมีกี่วิธี อะไรบ้าง ?
การรักษาเอ็นร้อยหวายอักเสบ สามารถแบ่งออกเป็น 2 วิธีหลัก ได้แก่ วิธีการรักษาแบบไม่ผ่าตัด และผ่าตัด
รักษาเอ็นร้อยหวายอักเสบแบบไม่ผ่าตัด
- พักการใช้งานของเท้า โดยลดการออกแรงกับข้อเท้ามากจนเกินไป
- ประคบข้อเท้าด้วยความเย็น เพื่อลดการบวมและอาการปวด
- รับประทานยาลดการอักเสบและบรรเทาอาการปวด เช่น ยากลุ่ม NSAIDs
- สวมรองเท้ากีฬาที่รองรับดี หรือใช้ผ้ารัดข้อเท้า เพื่อพยุงข้อเท้าขณะเคลื่อนไหว
- นวดกายภาพบำบัด เพื่อคลายกล้ามเนื้อบริเวณรอบๆ ข้อเท้า และเพิ่มการไหลเวียนเลือด
- การรักษาด้วยคลื่นกระแทก (shockwave therapy)
หากการรักษาแบบไม่ผ่าตัดไม่ได้ผล แพทย์อาจพิจารณาให้เข้ารับการรักษาแบบผ่าตัดต่อไป
รักษาเอ็นร้อยหวายอักเสบแบบผ่าตัด
การรักษาเอ็นร้อยหวายอักเสบ ในแต่ละเคสอาจแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความรุนแรง เช่น ผ่าตัดตัดเอ็นร้อยหวายที่อักเสบบางส่วนออก,ผ่าตัดเพื่อลดความตึงเอ็นร้อยหวายโดยปรับแนวกระดูก หรือ ผ่าตัดการซ่อมแซมเปลี่ยนโครงสร้างเอ็นร้อยหวายใหม่ สำหรับกรณีที่อักเสบมากจนเกิดความเสียหาย
ด้านเทคนิคการผ่าตัด ปัจจุบันมี 2 แบบ คือ การผ่าตัดเย็บซ่อมเส้นเอ็นร้อยหวายด้วยการเปิดแผล และการผ่าตัดเย็บซ่อมเอ็นร้อยหวายด้วยเทคนิคแผลเล็ก
1. ผ่าตัดเย็บซ่อมเส้นเอ็นร้อยหวายแบบเปิดแผล
วิธีนี้เป็นการผ่าตัดแบบทั่วไป โดยจะเป็นการเปิดแผลเพื่อให้เห็นเส้นเอ็น จากนั้นแพทย์จะทำการเย็บซ่อมเส้นเอ็นให้แข็งแรง โดยแผลผ่าตัดจะอยู่ที่ 10-15 เซนติเมตร ถือเป็นแผลขนาดใหญ่ หลังผ่าตัดจึงใช้เวลาพักฟื้นนานพอสมควร
2. ผ่าตัดเย็บซ่อมเอ็นร้อยหวายด้วยเทคนิคผ่าตัดแผลเล็ก
เป็นวิธีการผ่าตัดส่องกล้อง ซึ่งได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน เพราะแผลมีขนาดเล็ก เจ็บตัวน้อยลง พักฟื้นน้อยลง คนไข้สามารถฟื้นตัวได้เร็ว ลดความเจ็บปวด และลดภาวะแทรกซ้อนจากแผลผ่าตัดลงได้ แผลหลังการรักษาจะมีประมาณ 6 ถึง 7 รู โดยขนาดของแผล อยู่ที่ประมาณ 8-10 มม. เท่านั้น
การรักษาผ่าตัดเอ็นร้อยหวายอักเสบ มีข้อดีอย่างไร ?
การรักษาเอ็นร้อยหวายอักเสบด้วยการผ่าตัดถือว่าเป็นทางเลือกที่ดี โดยมีประสิทธิภาพช่วยให้หายขาดจากอาการได้ประมาณ 80-90%
ข้อดีของการผ่าตัดรักษาเอ็นร้อยหวายอักเสบ
- ได้รับการแก้ไขสาเหตุแห่งปัญหาโดยตรง จึงสามารถกำจัดอาการปวด บวม และกลับมาใช้งานข้อเท้าได้เต็มที่
- โอกาสกลับเป็นซ้ำมีน้อยกว่าการรักษาแบบอื่น
อย่างไรก็ตาม คนไข้ต้องพักฟื้นหลังผ่าตัด และต้องเข้ารับการกายภาพบำบัดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการติดขัดของข้อต่อและเพื่อฟื้นฟูความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อและเอ็นรอบ ๆ ข้อเท้า
ผ่าตัดเอ็นร้อยหวายอักเสบ หายขาดไหม ?
โดยทั่วไปแล้ว หลังจากการผ่าตัดรักษาเอ็นร้อยหวายอักเสบ คนไข้สามารถกลับมาใช้งานข้อเท้าและทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างเต็มที่ภายในระยะเวลาประมาณ 3-6 เดือน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการก่อนผ่าตัด และการฟื้นฟูสภาพร่างกายที่เหมาะสมหลังผ่าตัด
เอ็นร้อยหวายอักเสบ หากไม่รักษาอันตรายไหม ?
เมื่อมีอาการเอ็นร้อยหวายอักเสบ คนไข้จะไม่สามารถใช้งานข้อเท้าได้ตามปกติ มักมีอาการเจ็บ ปวด เมื่อมีการใช้งาน หากฝืนทน จนมีอาการเส้นเอ็นร้อยหวายอักเสบบ่อย ๆ เป็นระยะเวลานาน จะส่งผลทำให้เอ็นร้อยหวายค่อย ๆ เสื่อมสภาพลง เกิดปัญหาเส้นเอ็นเปื่อยนำไปสู่การฉีกขาดได้ สร้างความเจ็บปวดทรมาน รวมถึงไม่สามารถเดินได้
หลังผ่าตัดเอ็นร้อยหวายอักเสบ กี่วันหาย ดูแลตัวเองอย่างไร ?
หลังผ่าตัดเส้นเอ็นร้อยหวาย จะมีอาการบวมของข้อและเนื้อเยื่อรอบ ๆ จึงจะต้องใช้เวลาพักฟื้นเพื่อให้เส้นเอ็นจะเชื่อมต่อกันได้ดี เฉลี่ยอยู่ที่ 6 สัปดาห์ถึง 3 เดือน ขึ้นอยู่กับวิธีการรักษาผ่าตัด
วิธีการดูแลตัวเอง
3-8 สัปดาห์หลังผ่าตัด : แพทย์จะให้งดการลงน้ำหนักที่เท้า ช่วง จากนั้นจะคอยติดตามผลและเริ่มให้ลงน้ำหนักที่น้อยโดยมีไม้ค้ำยันช่วย
8-12 สัปดาห์หลังผ่าตัด : แพทย์อาจอนุญาตให้ใส่รองเท้าได้ปกติได้ และลงน้ำหนักได้ตามปกติ แต่ก็ยังไม่ควรออกวิ่ง หรือเล่นกีฬาหนัก ๆ
ในเคสที่เป็นนักกีฬาอาจจะต้องเข้ารับการทำกายภาพบำบัดเพิ่มเติม เพื่อให้กล้ามเนื้อเส้นเอ็นมีกำลังมากขึ้น
วิธีป้องกันเอ็นร้อยหวายอักเสบ
แม้เอ็นร้อยหวายอักเสบจะรักษาหายขาดได้ แต่การป้องกันย่อมดีกว่าการรักษา ดังนั้นจึงควรปฏิบัติดังนี้
- หมั่นออกกำลังกายอย่างเหมาะสม เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นให้ร่างกายและข้อเท้า
- หลีกเลี่ยงการออกแรงข้อเท้ามากเกินไปในระยะเวลาสั้น ๆ
- สวมรองเท้ากีฬาที่นุ่ม หนานุ่ม และมีการรองรับข้อเท้าที่ดี
- เลือกพื้นผิวที่ออกกำลังกายให้เหมาะสม เช่น ลู่วิ่งที่ยืดหยุ่น หรือทางเดินที่ไม่สะเทือนมากเกินไป
- ควรรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เพื่อไม่ให้ข้อเท้าต้องรับน้ำหนักมากจนเกินไป
- หากพบอาการบวม หรือปวดเมื่อยหลังออกกำลังกาย ให้พักเท้าและประคบความเย็นบริเวณนั้น ๆ ไม่ฝืนหรือหักโหม
การปฏิบัติตามข้อแนะนำเหล่านี้ จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดเอ็นร้อยหวายอักเสบ รวมถึงป้องกันปัญหาบาดเจ็บของข้อเท้าได้ในระยะยาวได้
นพ. ชาคร ริมชลา
ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ การผ่าตัดเท้าและข้อเท้า
ศูนย์กระดูกและข้อ รพ.พญาไท 3
สอบถามรายละเอียดหรือปรึกษาเพิ่มเติมได้ที่
LINE OA@phyathai3family