เป็นหนึ่งในโรคที่พบบ่อยที่สุดในโรคทางกระดูกสันหลัง มักเกิดได้บ่อยบริเวณหลังส่วนล่าง มีการกล่าวถึงครั้งแรกเมื่อประมาณ 200 ปีก่อน

สาเหตุเกิดได้อย่างไร

เกิดจากความเสื่อมของกระดูกสันหลัง เมื่ออายุมากขึ้น กระดูกสันหลังก็จะเริ่มมีความเสื่อมเกิดขึ้น โดยมีการเสื่อมของหมอนรองกระดูกและเกิดการทรุดตัวหรือยื่นนูนขึ้น ข้อต่อกระดูกสันหลังทางด้านหลัง (facet joint)โตขึ้น และมีการหนาตัวขึ้นของเนื้อเยื่อในโพรงประสาท ซึ่งทั้งหมดนี้จะมีส่วนทำให้โพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ โดยการเกิดเป็นจากความเสื่อมตามอายุ  กรรมพันธุ์และการใช้งานก็มีส่วนในการเกิดร่วมด้วย

อาการเป็นอย่างไร

ในโพรงกระดูกสันหลังมีเส้นประสาทที่ทำหน้าที่ให้กล้ามเนื้อมัดต่างๆทำงาน และให้การรับความรู้สึกบริเวณผิวหนังตามที่เส้นประสาทไปเลี้ยง เมื่อโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบจนถึงระดับหนึ่ง ก็จะทำให้เส้นประสาทที่อยู่ภายในโดนกดทับ ซึ่งจะทำให้เกิดอาการปวดหลังหรือสะโพกร้าวลงขา มีอาการชา หรือ อ่อนแรง เดินได้ไม่ไกลก็ต้องหยุดพักเนื่องจากปวดร้าวลงขา ในบางคนมีปัญหาในการควบคุมการขับถ่ายร่วมด้วย

เกิดขึ้นกับใคร

พบมากขึ้นในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป พบได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชายเท่าๆกัน พบได้บ่อยขึ้นในคนที่มีการใช้งานกระดูกสันหลังมาก เช่น ทำงานยกของหนัก มีการก้มเงยมาก โดยพบปัจจัยเสี่ยงอย่างอื่นที่มีผล เช่น กรรมพันธุ์มีคนในครอบครัวเป็น มีน้ำหนักมาก สูบบุหรี่ ในคนอายุน้อยสามารถพบได้บ้างในคนที่มีโพรงกระดูกสันหลังแคบที่เป็นมาแต่กำเนิด โดยเมื่อมีความผิดปกติของโพรงกระดูกเพียงเล็กน้อย ก็ทำให้เกิดการกดทับเส้นประสาทได้ง่ายกว่าคนปกติ

ตรวจพบได้อย่างไร

การวินิจฉัย อาศัยอาการผู้ป่วยที่เข้าได้ ตรวจร่างกายอาจพบมี ชา หรือ อ่อนแรงของกล้ามเนื้อที่เส้นประสาทไปเลี้ยง การตรวจภาพทางรังสีทั่วไป (x-ray) อาจพบความเสื่อมของกระดูกสันหลัง หมอนรองกระดูกมีการทรุดตัว ในบางคนอาจพบมีภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อนร่วมด้วย การตรวจเอ๊กซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า(MRI) เป็นการตรวจเพื่อยืนยัน สามารถดูโพรงประสาทและเส้นประสาทที่โดนกดทับได้ และยังสามารถดูความรุนแรงและตำแหน่งในการกดทับได้ด้วย

รักษาอย่างไร

การรักษาในคนที่มีอาการไม่มาก แนะนำปรับพฤติกรรมการใช้งาน หลีกเลี่ยงยกของหนัก ลดน้ำหนัก สร้างกล้ามเนื้อหลังให้แข็งแรง สามารถกินยา หรือ ทำกายภาพบำบัด ร่วมกันไปด้วยได้

ในคนที่มีอาการรุนแรง ปวดร้าวลงขามาก เดินได้ระยะทางใกล้มาก รบกวนชีวิตประจำวันมาก การผ่าตัดเป็นการรักษาที่ได้ผลดี โดยปัจจุบันมีการผ่าตัดในหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละคน

  1. การผ่าตัดเอาเนื้อเยื่อและกระดูกที่มีการทับเส้นประสาทออก โดยในปัจจุบันสามารถทำผ่านกล้อง microscope หรือ endoscope ซึ่งแผลมีขนาดเล็ก บาดเจ็บน้อย นอนโรงพยาบาลสั้น ฟื้นตัวไว
  2. การผ่าตัดใส่เหล็กดามร่วมกับเอาเนื้อเยื่อและกระดูกที่ทับเส้นประสาทออก เหมาะในคนที่มีอาการปวดหลังรุนแรงจากข้อที่มีการเสื่อม ข้อผิดรูป หรือ มีข้อกระดูกสันหลังเคลื่อนไม่มั่นคงร่วมด้วยหลังหรือสะโพกร้าวลงขา การวินิจฉัยที่ถูกต้อง อาศัยอาการ การตรวจร่างกาย และการตรวจภาพทางรังสี การรักษาเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตโดยการ ปรับพฤติกรรม กินยา ทำกายภาพบำบัด และการผ่าตัด โดยขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยเป็นสำคัญ
โครงการเบิกจ่ายตรงกับข้าราขการ
นพ.ปฤศนัย พฤฒิกุล

นพ.ปฤศนัย พฤฒิกุล
ศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านการผ่าตัดกระดูกสันหลัง
โรงพยาบาลพญาไท 3

Start typing and press Enter to search