เมื่อไหร่ต้องสแกนสมอง

โดยทั่วไป CT Scan เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดลำดับแรกหากคุณมีอาการกระโหลกร้าวหรือเลือดไหลในสมอง แพทย์จะสอบถามเกี่ยวกับอุบัติเหตุโดยความเป็นไปได้ที่จะเกิดกระโหลกร้าวและเลือดไหลในสมองมีดังนี้

  • กล้ามเนื้อใบหน้าหรือร่างกายข้างใดข้างหนึ่งอ่อนแรง
  • มีปัญหาการพูด การได้ยิน และการกลืน
  • สมรรถภาพในการมองลดลง
  • มีอาการชัก
  • อาเจียนบ่อยครั้ง
  • ปวดหัวรุนแรง
  • ตาดำข้างหนึ่งใหญ่กว่าอีกข้าง
  • มีของเหลวหรือเลือดออกมาจากหูและจมูก
  • กดแล้วเจ็บที่บริเวณเหนือกระโหลก

แพทย์อาจจะให้ใช้ CT SCAN ในกรณีที่ หมดสติ ประสบอุบัติเหตุรถยนต์ หรือตกจากความสูงมากกว่า 3 ฟุต ส่วนการ MRI อาจเป็นประโยชน์อย่างมากเมื่อมีอาการข้างต้นต่อเนื่องมากกว่า 48 ชั่วโมงหลังได้รับบาดเจ็บ หรืออาการเหล่านั้นแย่ลง

MRI ต่างจาก CT Scan อย่างไร

ปัจจุบันการตรวจค้นหาความผิดปกติของอวัยวะภายในต่าง ๆ มีความก้าวหน้ามากขึ้น และเทคโนโลยีการตรวจที่มีการใช้แพร่หลาย ได้แก่การตรวจ CT (computerized tomography) ​และ MRI (magnetic resonance imaging) แม้การตรวจสองวิธีนี้ จะมีความคล้ายคลึงกันมาก แต่ก็มีความแตกต่างหลายประการ ได้แก่

1.  CT scan ต้องใช้รังสี แต่ MRI ไม่ใช้รังสี

การตรวจ CT scan ใช้วิธีการปล่อยลำแสง x-ray ผ่านลำตัวผู้รับการตรวจเพื่อให้เกิดเงาภาพบนฉากที่รอรับลำแสงที่อยู่อีกด้านหนึ่งของลำตัว ในขณะที่ MRI ใช้วิธีการสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้ารอบตัวผู้รับการตรวจ และคอยตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของพลังงานในสนามแม่เหล็กนั้น โดยไม่มีการใช้ลำแสง x-ray การสัมผัสคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าดังกล่าว ในปัจจุบันยังไม่พบว่ามีผลกระทบกับสุขภาพ ดังนั้นการตรวจ MRI จึงมีความปลอดภัยมากกว่าการตรวจ CT

2. MRI เหมาะกับการตรวจเนื้อเยื่ออ่อน แต่ CT เหมาะกับการตรวจกระดูก

การตรวจ MRI อาศัยการตรวจจับการเคลื่อนที่ของโปรตอนของน้ำ ในระหว่างที่อยู่กลางสนามแม่เหล็ก ดังนั้นอวัยวะที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบมาก เช่น เนื้อเยื่ออ่อน กล้ามเนื้อ หลอดเลือด                  เนื้อสมอง ฯลฯ ก็จะสร้างสัญญาณให้ตรวจจับได้ดี ในขณะที่กระดูกซึ่งแทบจะไม่มีน้ำเป็นส่วนประกอบ          จะไม่สามารถสร้างสัญญาณให้ตรวจจับโดยเครื่อง MRI ได้ ดังนั้น หากต้องการวินิจฉัยโรคที่เกี่ยวกับกระดูก จึงควรเลือกตรวจด้วย CT scan

3. CT ใช้เวลาในการตรวจสั้นมาก MRI ต้องใช้เวลานานมาก

เครื่องตรวจ CT อาศัยการปล่อยลำแสงผ่านลำตัวผู้ตรวจไปพร้อม ๆ กับการหมุนรอบตัวผู้รับการตรวจไปด้วย ระยะเวลาที่ใช้ในการหมุนให้ครบรอบนั้น กินเวลาเพียง 1-2 วินาทีเท่านั้น ก็ได้ภาพรอบด้านของบริเวณนั้น ดังนั้น ระยะเวลารวมที่ต้องใช้ในการตรวจ CT จึงมักจะไม่เกิน 10-15 นาที ในขณะที่การตรวจด้วย MRI ต้องใช้เวลานานมากกว่า ซึ่งในบางครั้งอาจนานถึง 1 ชั่วโมงได้ และอาจสร้างปัญหาให้กับ ผู้เข้ารับการตรวจบางรายที่กลัวการอยู่ในที่แคบ (claustrophobia)

4.  สารเพิ่มความชัดของภาพ (contrast media) ที่ใช้แตกต่างกัน

สำหรับการตรวจ CT สารทึบแสงที่ใช้เพื่อเพิ่มความชัดเจนของภาพ มักจะเป็นชนิดที่มีส่วนประกอบของไอโอดีน (iodine) และมีโอกาสทำให้เกิดพิษกับไตได้ จึงต้องให้ความระมัดระวังเป็นพิเศษหากทำการตรวจ CT scan ในผู้ป่วยที่มีโรคไตอยู่ก่อนแล้ว ส่วนการตรวจ MRI นั้น สารเพิ่มความชัดของภาพได้แก่ Gadolinium  ไม่มีไอโอดีน (iodine) เป็นส่วนประกอบ จึงไม่ทำให้เกิดพิษกับไต อย่างไรก็ตาม สาร ที่ใช้ในการตรวจ MRI นั้น อาจทำให้เกิดความผิดปกติของผิวหนังในระยะยาวได้ ซึ่งเรียกว่า Nephrogenic systemic fibrosis โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่มีการทำการของไต ที่วัดด้วยค่า glomerular filtration rate (GFR) น้อยกว่า 30 มล./นาที

5.  โลหะเป็นของต้องห้ามสำหรับ MRI

ด้วยเหตุที่การตรวจ MRI ผู้รับการตรวจจะต้องเข้าไปอยู่ในสนามแม่เหล็กขนาดใหญ่ ดังนั้น หากมีโลหะทั้งภายในและภายนอกร่างกาย เข้าไปอยู่ในสนามแม่เหล็กนั้นด้วย ก็อาจจะเกิดการเคลื่อนที่ และเป็นอันตรายได้ ดังนั้นโดยมากแล้ว การมีเครื่องมือทางการแพทย์หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เป็นโลหะในร่างกาย มักจะเป็นข้อห้ามสำหรับการตรวจ MRI ส่วนการตรวจ CT scan นั้น สามารถทำการตรวจในผู้รับการตรวจที่มีโลหะได้ เพียงแต่ภาพที่ได้อาจมีความเบลออยู่บ้าง เนื่องจากโลหะมักจะทึบและลำแสง x-ray ผ่านไม่ได้จึงมักปรากฎเงาบริเวณใกล้ ๆ กับโลหะเหล่านี้ได้

ศูนย์ระบบประสาทและสมอง รพ.พญาไท 3

ปรึกษาแพทย์ออนไลน์ (ไม่เสียค่าใช้จ่าย)

    ชื่อ

    นามสกุล

    Email

    เบอร์โทร

    ข้อความ

    Start typing and press Enter to search