MDT Team for Cancer รูปแบบการรักษาแนวใหม่ เพื่อมอบ “โลกใบใหม่” ให้คนไข้ “โรคมะเร็ง”

MDT Team for Cancer

รูปแบบการรักษาแนวใหม่ เพื่อมอบ “โลกใบใหม่” ให้คนไข้ “โรคมะเร็ง”

รูปแบบการรักษาแนวใหม่ เพื่อมอบ “โลกใบใหม่” ให้คนไข้ “โรคมะเร็ง”

MDT Team For Cancer คืออะไร ทำไมจึงให้ผลการรักษามะเร็งที่ดีกว่า?

“MDT Team for Cancer” หรือ “Multidisciplinary Team for Cancer Treatment” คือ รูปแบบการรักษาที่รวมเอาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในหลากหลายสาขาวิชาชีพมาทำงานร่วมกัน เพื่อวิเคราะห์และวางแผนแนวทางการรักษาผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคซึ่งมีความซับซ้อนอย่างเช่นโรคมะเร็ง โดยในทีมแพทย์จะประกอบไปด้วย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคมะเร็งในสาขาต่างๆ ตามตำแหน่งความผิดปกติของผู้ป่วย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านรังสีเอ็กซเรย์ ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการผ่าตัด นักกายภาพบำบัด นักโภชนาการ เภสัชกร ตลอดจนพยาบาลวิชาชีพ ซึ่งจากการร่วมกันวินิจฉัยโรคแบบเฉพาะรายของทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญนี้เอง จึงทำให้สามารถได้ข้อสรุป และได้แนวทางในการรักษาที่เหมาะสมและรวดเร็ว ซึ่งช่วยเพิ่มโอกาสในการได้ผลการรักษาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพราะสำหรับโรคมะเร็งแล้ว ทุกวินาทีนั้นมีค่าหมายถึงโอกาสรอดของชีวิตผู้ป่วย

นวัตกรรมต่อกรมะเร็งร้าย เพื่อคนไข้หายดี และควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากจะใช้รูปแบบการรักษาแบบ MDT Team ที่เป็นการใช้แพทย์สหสาขาวิชาชีพร่วมกันรักษาผู้ป่วยแบบเฉพาะรายแล้ว โรงพยาบาลพญาไท 3 ยังมีนวัตกรรมการรักษาอีกหลายอย่าง ที่นำมาใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งเพื่อให้ได้ผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพ และให้ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ได้รับประสบการณ์การรักษาที่ดีที่สุด ซึ่งนวัตกรรมในการรักษาของศูนย์มะเร็งโรงพยาบาลพญาไท 3 ที่สำคัญนั้น ได้แก่

นวัตกรรมต่อกรมะเร็งร้าย เพื่อคนไข้หายดี และควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ

1. นวัตกรรมการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด ที่ปัจจุบันได้มีการพัฒนาจนสามารถลดผลข้างเคียงลงได้เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ คือ อาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร จะลดน้อยลงมากหรือบางรายอาจไม่มีเลย ในขณะเดียวกันก็สามารถลดระยะเวลาในการให้ยาลงได้อย่างมาก คือเพียงแค่ 15 นาทีก็กลับบ้านได้แล้ว ทำให้ผู้ป่วยสะดวกสบาย และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในระหว่างระยะเวลาที่เข้ารับการรักษา

2. นวัตกรรมการรักษาด้านการฉายแสง ได้รับการพัฒนาให้มีความแม่นยำมากยิ่งขึ้นจนถึงขั้นมีระบบการฉายแสงแบบ 4 มิติ ที่สามารถกำหนดตำแหน่งในการฉายแสงของก้อนเนื้อที่มีการขยับขึ้นลงตามการหายใจได้ ทำให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น และลดผลข้างเคียงลง เนื่องจากความแม่นยำของรังสีที่ไม่แผ่ไปยังอวัยวะข้างเคียง

3. นวัตกรรมด้านการผ่าตัด ปัจจุบันศัลยแพทย์มีความเชี่ยวชาญและมีเทคนิคในการผ่าตัดมากขึ้น ประกอบกับเทคโนโลยีด้านการผ่าตัดแบบแผลเล็ก จึงทำให้ความเจ็บปวดจากการผ่าตัดลดลง คนไข้ฟื้นตัวเร็วขึ้น หรือในกรณีของการผ่าตัดมะเร็งเต้านม ปัจจุบันก็มีการผ่าตัดแบบเสริมเต้าที่นำเอากล้ามเนื้อหน้าท้องกลับขึ้นมาทำเป็นเต้านมเทียม ทำให้ผู้ป่วยมีความมั่นใจเพิ่มขึ้นหลังผ่าตัด และเป็นทางเลือกสำหรับผู้ป่วยที่ไม่ต้องการใช้ซิลิโคนในการรักษา ทำให้ผู้ป่วยได้รับผลลัพธ์ทางการรักษาที่ใจต้องการ

4.  นวัตกรรมการรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด หรือ “Immunotherapy” เป็นการรักษาด้วยการใช้ภูมิคุ้มกันในร่างกายของเราเอง เข้าไปทำลายเซลล์มะเร็ง ผ่านการใช้ยาที่ไม่ใช่สารเคมี แต่เป็นยาที่เข้าไปทำหน้าที่กระตุ้นให้ภูมิต้านทานของเราฟื้นคืนมา เพื่อต่อสู้กับโรคมะเร็ง ซึ่งด้วยไม่ใช่เป็นการใช้ยาโดยตรง จึงทำให้การรักษาด้วยวิธีนี้ คล้ายกับเป็นการรักษาตามธรรมชาติ ซึ่งส่งผลไม่ก่อให้เกิดผลเสียข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย และได้ผลลัพธ์ทางการรักษาที่มีประสิทธิภาพ

5.  นวัตกรรมด้านการตรวจวินิจฉัย ปัจจุบันมีความแม่นยำเพิ่มมากขึ้น โดยสามารถนำชิ้นเนื้อไปตรวจแล้วทราบได้เลยว่าสาเหตุของมะเร็งนั้นมาจากที่ใด พร้อมกับยังสามารถระบุได้อีกว่ายาตัวไหนมีประสิทธิภาพกับชิ้นมะเร็งนั้น ซึ่งทำให้แพทย์สามารถวางแผนการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นวัตกรรมต่อกรมะเร็งร้าย เพื่อคนไข้หายดี และควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นวัตกรรมต่อกรมะเร็งร้าย เพื่อคนไข้หายดี และควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ

6.  Pain Management Center หรือ “ศูนย์ระงับความเจ็บปวด” เป็นศูนย์ที่ดูแลเยียวยาและบรรเทาความเจ็บปวดจากโรคให้กับผู้ป่วยโดยเฉพาะ ผู้ป่วยมะเร็งที่มีการแพร่กระจายไปยังกระดูก หรือมะเร็งทางสูตินารีเวชซึ่งมักจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บปวดมาก ศูนย์ระงับความเจ็บปวด มีวิธีการรักษาอาการปวดจากโรคมะเร็งหลายวิธีได้แก่ การรักษาด้วยยาบรรเทาอาการปวด , การทำหัตถการระงับปวด นอกจากช่วยให้อาการปวดดีขึ้น ยังมุ่งหวังให้คนไข้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุขกับการใช้ชีวิตที่มากขึ้นของผู้ป่วยและบุคคลใกล้ชิด

7.  Palliative Care หรือ “การดูแลรักษาแบบประคับประคอง” เป็นกระบวนการดูแลผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยโรคมะเร็งโดยเฉพาะ ในด้านอื่นๆ ที่ควบคู่กันไปกับการรักษาหลัก อาทิ การดูแลสภาพจิตใจ สภาพครอบครัว การให้คำปรึกษาด้านสถานะทางการเงินเพื่อการวางแผนการรักษา ตลอดไปจนถึง การดูแลผู้ป่วยในระยะสุดท้าย เพื่อให้บรรลุเป้าหมายสุดท้ายในชีวิตได้อย่างที่ใจต้องการ ซึ่งในทีม Palliative Care นั้นก็จะประกอบไปด้วยทีมแพทย์ ทีมพยาบาล รวมถึงแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชวิทยา ทำงานร่วมกัน ควบคู่กันไปกับทีมแพทย์สหสาขาวิชาชีพ MDT Team ที่ทำการรักษาโรคเป็นหลัก

ตั้งแต่ต้นจนหายดี เราดูแลอย่างพิถีพิถันและเห็นชีวิตผู้ป่วยสำคัญที่สุด

ภาพใหญ่ของการรักษาโรคมะเร็ง คือ การผ่าตัดนำเอาก้อนมะเร็งออกไปจากร่างกายของผู้ป่วยให้หมด และเร็วที่สุด ก่อนที่มะเร็งจะดำเนินโรคเข้าสู่ระยะลุกลามที่ทำให้การควบคุมโรคเป็นไปได้ยาก ดังนั้นสำหรับการรักษาโรคมะเร็งแล้ว การตรวจวินิจฉัยให้พบ ยิ่งพบเจอเร็วมากเท่าไร ก็ยิ่งมีโอกาสหายดีได้มากเท่านั้น ทั้งนี้ จึงสามารถสรุปกระบวนการในการรักษาโรคมะเร็งออกได้ เป็น 3 ขั้นตอนใหญ่ คือ

1. วินิจฉัยให้เจอโรคไวที่สุด

ขั้นนี้ผู้ป่วยจะเข้ามาด้วยอาการผิดปกติต่างๆ หรือเข้ามาด้วยตรวจสุขภาพเฉพาะทางด้านมะเร็ง ซึ่งทางทีมแพทย์จะทำการตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องมือทันสมัย อาทิ การทำ CT Scan เพื่อหาให้พบว่าผู้ป่วยมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งหรือไม่ ถ้ามีก็นำไปสู่กระบวนการของการตัดชิ้นเนื้อเพื่อตรวจพิสูจน์ให้แม่นยำชัดเจน และวางแผนแนวทางในการรักษาต่อไป

2.  รักษาให้เต็มที่ที่สุดด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

เมื่อทราบแล้วว่าผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็ง ทีมแพทย์สหสาขาวิชาชีพ จะทำการประชุมร่วมกันเพื่อหาแนวทางในการรักษาที่เหมาะสมที่สุด อาทิ ในกรณีที่ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่ ให้การรักษาด้วยยาเคมีบำบัด หรือฉายแสงเพื่อให้มะเร็งมีขนาดเล็กลงก่อนแล้วค่อยทำการผ่าตัด หรือหากก้อนมีขนาดไม่ใหญ่มาก ก็อาจเลือกใช้วิธีการให้การรักษาด้วยการให้ยาเพียงอย่างเดียว และติดตามอากรต่อ เป็นต้น

3.  นัดติดตามอาการและดูแลใกล้ชิดสม่ำเสมอ

ภายหลังจากการผ่าตัดนำเอาชิ้นเนื้อมะเร็งออกไปแล้ว แพทย์ก็จะยังนัดผู้ป่วยมาติดตามอาการอยู่อย่างสม่ำเสมอ มีการนัดตรวจอัลตร้าซาวด์ หรือตรวจคัดกรองมะเร็งเป็นระยะทุกปี เพื่อเฝ้าระวังไม่ให้มะเร็งกลับมาอีก เพราะสำหรับโรคมะเร็งแล้วผู้ป่วยมักมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้สูง อย่างไรก็ตาม หากพ้นระยะ 5 ปีไปแล้วหลังจากการผ่าตัดนำเอาก้อนมะเร็งออก ผู้ป่วยมักหายขาดจากโรค

มากกว่าการพยาบาล คือการดูแลคนไข้แบบองค์รวม

นอกจากการรักษาที่ใช้ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสหสาขาวิชาชีพดูแลแล้ว ในส่วนของงานพยาบาล ทางศูนย์มะเร็ง โรงพยาบาลพญาไท 3 ก็ยังดูแลคนไข้ด้วยหลักของ Holistic Care หรือ การดูแลคนไข้แบบองค์รวม ที่เน้นดูแลผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ในทุกช่วงจังหวะของการรักษา ตั้งแต่เข้ามารับการตรวจวินิจฉัย ระหว่างขั้นตอนการรักษา และในช่วงติดตามอาการหลังการรักษา เพราะเราตระหนักดีว่า ผู้ป่วยโรคมะเร็งรวมถึงญาติ ต้องการความเข้าใจ และการให้บริการที่ดีที่สุด เพื่อให้สามารถก้าวผ่านช่วงระยะเวลาที่ยากลำบากที่สุดในชีวิตไปให้ได้

นพ.วินัย พอล

นพ. วินัย พอล

อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านโรคมะเร็ง ศูนย์มะเร็ง โรงพยาบาล พญาไท 3

จากแพทย์ฝึกหัดใช้ทุน
สู่การลงทุนใช้ชีวิตเพื่อรอยยิ้มผู้ป่วยโรคมะเร็ง

…ยิ่งได้ช่วยเหลือคนไข้มากขึ้นก็ยิ่งรู้สึกแฮปปี้ คือพอเราได้ช่วยเหลือคนไข้ ได้ไปดูแลแล้วเขาดีขึ้น
เขาก็มาขอบคุณ ลูกหลานเขาก็รู้สึกขอบคุณนั่นเป็นสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกมีความภาคภูมิใจ…

ปรึกษาแพทย์ออนไลน์ (ไม่เสียค่าใช้จ่าย)

    ชื่อ

    นามสกุล

    Email

    เบอร์โทร

    ข้อความ

    ทีมพยาบาลชำนาญการ

    พว.วิไล สุนทรชยกุล (พี่วี่)

    พว. วิไล สุนทรชยกุล (พี่วี่)
    พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ผู้จัดการแผนกศูนย์มะเร็ง

    พว. อรกช วงศ์ชำนาญ (พี่ปุ๊)

    พว. อรกช วงศ์ชำนาญ (พี่ปุ๊)
    พยาบาลวิชาชีพ ศูนย์เต้านม

    พว. ภูริตา เมธารัตนดำรง (พี่อั้ม)

    พว. ภูริตา เมธารัตนดำรง (พี่อั้ม)
    พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ศูนย์มะเร็ง

    Start typing and press Enter to search