คำแนะนำจากแพทย์เกี่ยวกับโรคซึมเศร้า คืออะไร เกิดสาเหตุใด มีอาการอย่างไร กระทบกับชีวิตอย่างไร พร้อมรู้แนวทางรักษาป้องกันอย่างถูกวิธี

โรคซึมเศร้าคืออะไร ? อาการอย่างไร รู้สาเหตุและวิธีรักษาฟื้นฟู เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

โรคซึมเศร้า เป็นหนึ่งในโรคทางจิตเวชที่พบได้บ่อย เนื่องจากปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจำนวนมากที่เข้าถึงการรักษา สื่อและบุคคลสาธารณะมีการกล่าวถึงโรคนี้กันเพิ่มขึ้น โรคซึมเศร้าสามารถรักษาให้อาการกลับเป็นปกติได้ แต่ในผู้ป่วยบางรายที่โรคซึมเศร้ารุนแรง อาจมีความเสี่ยงต่อการทำร้ายตนเองได้ เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้ รู้สาเหตุ และสามารถสังเกตอาการได้ พร้อมทราบเนวทางป้องกัน รักษาอย่างถูกวิธี เรามีข้อมูลทั้งหมดนี้มาแนะนำ

สารบัญ โรคซึมเศร้า

  1. โรคซึมเศร้าคืออะไร ?
  2. โรคซึมเศร้ามีอาการอย่างไร ?
  3. โรคซึมเศร้าสาเหตุเกิดอะไร ?
  4. โรคซึมเศร้าส่งผลกระทบอะไรบ้าง ?
  5. โรคซึมเศร้ารักษาอย่างไรได้บ้าง ?

โรคซึมเศร้าคืออะไร ?

โรคซึมเศร้า คือ โรคทางจิตเวชที่มีอาการผิดปกติของอารมณ์ ส่งผลให้เกิดความอารมณ์ พฤติกรรม และความคิดเปลี่ยนไป จนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ปัจจุบันโรคนี้สามารถรักษาหายได้ ด้วยการใช้ยา รวมถึงการรักษาฟื้นฟูหรือบำบัดทางจิตใจ

โรคซึมเศร้ามีอาการอย่างไร ?

อาการของโรคซึมเศร้า มีดังนี้

  • รู้สึกเศร้า ท้อแท้ไม่มีความสุข
  • เบื่อหน่าย ไม่อยากทำอะไร ความสนใจในกิจกรรมต่าง ๆ ลดลงอย่างมาก
  • เบื่ออาหารหรือเจริญอาหารมากกว่าปกติจนน้ำหนักลดลงหรือเพิ่มขึ้นอย่างมาก
  • นอนไม่หลับ หรือหลับมากเกินไป
  • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายไม่ค่อยมีแรง
  • กระวนกระวาย อยู่ไม่สุข หรือเชื่องช้าลง
  • สมาธิลดลง หรือตัดสินใจได้ช้าลง
  • รู้สึกผิด หรือโทษตัวเองอย่างมาก มองโลกในแง่ลบ รู้สึกตัวเองไร้ค่า
  • คิดวนเวียนเกี่ยวกับการทำร้ายตนเอง หรือคิดอยากตาย

โดยผู้ที่มีอาการอย่างน้อย 5 ข้อ เป็นเกือบทุกวันในระยะเวลา 2 สัปดาห์ขึ้นไป จะเรียกกว่ามีภาวะซึมเศร้า หากแยกสาเหตุ หรือโรคอื่นที่มีอาการคล้ายกันออกไปได้ ผู้ป่วยที่มีอาการข้างต้น จะได้รับการวินิจฉัยว่าโรคซึมเศร้า (1)

โรคซึมเศร้ามีอาการอย่างไร ?

อาการของโรคซึมเศร้า มีดังนี้

  • รู้สึกเศร้า ท้อแท้ไม่มีความสุข
  • เบื่อหน่าย ไม่อยากทำอะไร ความสนใจในกิจกรรมต่าง ๆ ลดลงอย่างมาก
  • เบื่ออาหารหรือเจริญอาหารมากกว่าปกติจนน้ำหนักลดลงหรือเพิ่มขึ้นอย่างมาก
  • นอนไม่หลับ หรือหลับมากเกินไป
  • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายไม่ค่อยมีแรง
  • กระวนกระวาย อยู่ไม่สุข หรือเชื่องช้าลง
  • สมาธิลดลง หรือตัดสินใจได้ช้าลง
  • รู้สึกผิด หรือโทษตัวเองอย่างมาก มองโลกในแง่ลบ รู้สึกตัวเองไร้ค่า
  • คิดวนเวียนเกี่ยวกับการทำร้ายตนเอง หรือคิดอยากตาย

โดยผู้ที่มีอาการอย่างน้อย 5 ข้อ เป็นเกือบทุกวันในระยะเวลา 2 สัปดาห์ขึ้นไป จะเรียกกว่ามีภาวะซึมเศร้า หากแยกสาเหตุ หรือโรคอื่นที่มีอาการคล้ายกันออกไปได้ ผู้ป่วยที่มีอาการข้างต้น จะได้รับการวินิจฉัยว่าโรคซึมเศร้า (1)

โรคซึมเศร้า สาเหตุเกิดอะไร ?

โรคซึมเศร้า สามารถเกิดได้กับทุกเพศ ทุกวัย โดยสาเหตุการเกิดโรคแบ่งได้เป็น 3 ปัจจัย คือ

  1. ปัจจัยทางชีวภาพ ได้แก่ ปัจจัยด้านพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของสารสื่อประสาทในกลุ่ม monoamines (ประกอบด้วย serotonin, norepinephrine และ dopamine) ประวัติในครอบครัว โดยเฉพาะญาติสายตรงที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า จะมีโอกาสป่วยภาวะซึมเศร้าได้มากกว่าคนทั่วไป การใช้ยาบางชนิดเป็นประจำ เช่น สเตียรอยด์ ยาเบนโซไดอะซีปีน เป็นต้น ตัวยาอาจทำให้ก่อให้เกิดภาวะซึมเศร้า รวมไปถึงโรคทางกายที่มีผลทำให้เกิดการอับเสบ หรือระบบฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุล เช่น ภาวะไทรอยด์ต่ำ เป็นต้น หรือโรคทางสมอง เช่น โรคหลอดเลือดในสมองตีบ เป็นต้น
  2. ปัจจัยด้านจิตใจ ได้แก่ ลักษณะนิสัย บุคลิกภาพที่ไม่ยืดหยุ่น หรือการมองตัวเองและสิ่งรอบตัวในแง่ลบ มีผลทำให้เป็นโรคซึมเศร้าได้มากกว่า
  3. สภาพแวดล้อมหรือเหตุการณ์ที่เผชิญ: การที่ต้องเผชิญกับเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ เช่น การสูญเสีย ที่ส่งผลต่อสภาพจิตใจ เช่น ความผิดหวัง หรือความสิ้นหวัง ถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลือที่เหมาะสมอาจจะนำไปสู่โรคซึมเศร้าได้

ปัจจัยเสี่ยงของโรคซึมเศร้า ตามกลุ่มอายุ/เพศ

ผู้หญิง เพศหญิงมีความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเช่น การมีประจำเดือน การตั้งครรภ์ ภาวะหลังคลอด วัยทอง เป็นต้น

ผู้ชาย จะมีโรคร่วมอื่น ๆ เช่น การใช้สารเสพติดมากกว่าเพศหญิง  หากโรคซึมเศร้ามีความรุนแรงจนมีความคิดอยากตาย อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จจะสูง

ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมาด้วยอาการทางกาย  วิตกกังวลง่าย คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็นภาวะปกติของผู้สูงอายุ ทำให้ภาวะซึมเศร้าอาจถูกละเลย นอกจากนี้ ผู้สูงอายุ เมื่อมีภาวะซึมเศร้า จำเป็นต้องหาสาเหตุทางร่างกายหรือยาบางอย่างที่ทำให้มีอาการคล้ายโรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้าส่งผลกระทบอะไรบ้าง ?

โรคซึมเศร้าล้วนมีผลกระทบทั้งด้านร่างกาย ความคิด ไปจนถึงคุณภาพชีวิตโดยรวมของทั้งผู้ป่วยผู้ป่วยโรคซึมเศร้า และบุคคลใกล้ชิด

ผลกระทบต่อร่างกาย: ผู้ป่วยโรคนี้ มีความเสียงที่จะมีโรคทางกายมากกว่าคนทั่วไป หรืออาจทำให้สุขภาพกายแย่ลง ซึ่งมีสาเหตุจากหลายปัจจัย เช่น น้ำหนักที่ผันผวน การนอนพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ หรือไม่มีคุณภาพ

ผลต่อความคิด ความจำ และการตัดสินใจ ในผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้า สมาธิในการทำงาน หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ลดลง มักมีความคิดหรือการจดจ่อต่อเหตุการณ์ในเชิงลบ ซึ่งส่งผลต่อการตัดสินใจ และการแก้ปัญหา บางรายอาจมีความคิดอยากตาย หรือทำร้ายตนเอง

ผลต่อคุณภาพชีวิต: คุณภาพ โรคซึมเศร้าทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ความสามารถในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ลดลง อาจะต้องพึ่งพาบุคคลอื่นมากขึ้น หรือส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วย และคนใกล้ตัวได้

โรคซึมเศร้ารักษาอย่างไรได้บ้าง ?

วิธีการรักษาอาการของโรคซึมเศร้า มี 3 วิธีหลัก ได้แก่

  • การรักษาด้วยยา : ยาต้านเศร้า เพื่อปรับระดับสารเคมีในสมองให้สมดุล กลุ่มยาต้านเศร้าในปัจจุบันมีหลายกลุ่ม ไม่ว่าเป็น Selective Serotonin Reuptake Inhibitors (SSRIs) หรือ Serotonin and Noradrenaline Reuptake Inhibitors (SNRIs)  ซึ่งจะมีการสั่งจ่ายโดยแพทย์ การเลือกใช้ชนิดของยาต้านเศร้าพิจารณาจากปัจจัยหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นของอาการของผู้ป่วย โรคร่วม วิธีการบริหารยา เป็นต้น โดยระยะเวลาในการรับประทานยาจะแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย ส่วนใหญ่เมื่อผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นแล้ว มักแนะนำให้รับประทานยาต่อไปอีกอย่างน้อย 1-2 ปี เพื่อลดอัตราการกลับมาเป็นซ้ำของโรค (2)
  • การรักษาทางจิตใจ การทำจิตบำบัด: เป็นการบำบัดพฤติกรรมและความคิด บางรายอาจเน้นการจัดการกับอารมณ์เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยเกิดความเข้าใจในตัวเอง และเข้าใจปัญหา จนสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมและมุมมองต่อปัญหาได้ การรักษาลักษณะนี้ จำเป็นต้องอาศัยเวลาในการรักษาเช่นกัน สามารถทำคู่ไปกับการรับประทานยาได้
  • การรักษาด้วยการกระตุ้นสมอง: ประกอบด้วยการรักษาด้วยกระแสไฟฟ้ากระตุ้นเซลล์ประสาท (Electroconvulsive Therapy or ECT) และการรักษาด้วยสนามแม่เหล็ก (Transcranial Magnetic Stimulation or TMS) การรักษาทั้งสองวิธีนี้ ไม่ได้เหมาะกับผู้ป่วยทุกราย จำเป็นต้องพิจารณาถึงข้อบ่งชี้และข้อควรระวังบางประการ

โรคซึมศร้าเป็นโรคที่รักษาให้หายได้ หัวใจสำคัญ คือ การยอมรับและเข้ารับการรักษา แพทย์อาจเริ่มการรักษาด้วยการให้คำปรึกษา การทำจิตบำบัดเพื่อช่วยเหลือชี้แนะในการเปลี่ยนความคิด หรือปรับตัวต่อปัญหา และการให้ยาต้านเศร้า ผู้ป่วยที่เข้าสู่การรักษา ควรรักษาต่อเนื่อง พร้อมกับทำความเข้าใจตนเองและตัวโรค เหล่านี้จะเป็นปัจจัยที่นำไปสู่การหายขาดจากโรคนั่นเอง

หากเช็กอาการแล้วรู้สึกเข้าข่ายเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า แนะนำให้ปรึกษาจิตแพทย์ เพื่อวางแผนการรักษา โดยคลินิกจิตเวช โรงพยาบาลพญาไท 3 พร้อมให้คำแนะนำและให้คำปรึกษากับผู้ที่มีปัญหาทางด้านสุขภาพจิต ดูแลโดยจิตแพทย์ และทีมงานที่มีประสบการณ์ พร้อมด้วยแพทย์ด้านประสาทวิทยา นักจิตวิทยาและพยาบาลที่จะดูแลให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด

References
(1) American Psychiatric Association. Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders, Fourth Edition Text Revision, 4th edn Text Revision. Washington, DC: American Psychiatric Publishing, 2000.
(2) Geddes JR, Carney SM, Davies C, et al. (2003) Relapse prevention with antidepressant drug treatment in depressive disorders: a systematic review. The Lancet, 361, 653– 61.

ผศ.พญ.กิติกานต์ ธนะอุดม

คลินิกจิตเวช รพ.พญาไท 3
02-467-1111 ต่อ 3262

Start typing and press Enter to search