เมื่อใกล้เข้าสู่เทศกาลกินเจ คุณแม่ที่ตั้งครรภ์หลายคนอาจมีคำถามว่าขณะตั้งครรภ์สามารถกินอาหารเจได้หรือไม่ วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจกันว่าอาหารเจประเภทไหนบ้างที่ควรหลีกเลี่ยง และหากจะกินเจอย่างเดียวควรเน้นอาหารประเภทไหนเป็นพิเศษ

ในช่วงไตรมาสแรก (อายุครรภ์ก่อน 14 สัปดาห์ )

ช่วงนี้เป็นช่วงที่ทารกกำลังสร้างอวัยวะ การกินอาหารเจไม่ได้มีรายงานว่าทำให้เกิดความผิดปกติของทารกหากคุณแม่ยังได้รับสารอาหารรวมถึงวิตามินและ folic acid อย่างเพียงพอ แต่ในช่วงนี้คุณแม่จะกินได้น้อย หลายๆคนมีอาการแพ้ท้อง การรับประทานอาหารเจที่เป็นของทอดหรือของมัน จะยิ่งกระตุ้นให้อาการแพ้ท้องแย่ลง และทำให้ร่างกายไม่อยากอาหาร รวมถึงการกินผักและผลไม้บางชนิดที่ก่อให้เกิดแก๊ส เช่น ผักตระกูลกะหล่ำ ถั่ว จะกระตุ้นให้คุณแม่ที่ท้องอืดได้ง่ายอยู่เดิมมีอาการท้องอืดได้ง่ายขึ้นและจะยิ่งทำให้อาหารแพ้ท้องเป็นมากขึ้น

ในช่วงไตรมาสที่สองและสาม (หลัง 14 สัปดาห์เป็นต้นไป)

ช่วงนี้จะเป็นช่วงที่ทารกในครรภ์มีการเจริญเติบโต และในภาวะที่ทารกได้รับสารอาหารไม่เพียงพอทารกจะนำโปรตีนจากคุณแม่ไปใช้ก่อนสารอาหารประเภทอื่นๆ โดยปกติในสตรีตั้งครรภ์จะมีความต้องการโปรตีนที่มากกว่าคนทั่วไป โดยความต้องการโปรตีนในแต่ละวันอยู่ที่ 1-1.1 g/kg/day ตลอดการตั้งครรภ์ ดังนั้นหากคุณแม่ต้องการกินเจจะแนะนำให้กินอาหารจำพวกโปรตีนจากพืชทดแทนให้ได้ตามปริมาณโปรตีนที่ควรได้รับในแต่ละวันเพื่อจะได้ไม่เกิดปัญหาทารกโตช้าหรือมีน้ำหนักตัวน้อยในครรภ์ และนอกจากนี้ในช่วงไตรมาสที่2(โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงอายุครรภ์ 24-28 สัปดาห์) สตรีตั้งครรภ์จะมีภาวะดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลินได้มากขึ้น ทำให้เกิดการเผาผลาญอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลผิดปกติได้ง่ายและนำไปสู่การเกิดภาวะเบาหวาน

ดังนั้นควรหลีกเลี่ยง อาหารที่มีน้ำตาลหรือปริมารคาร์โบไฮเดรตที่สูง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในคุณแม่ที่เสี่ยงต่อภาวะเบาหวาน หรือเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หรือมีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์หรือน้ำหนักตัวขึ้นเกินเกณฑ์ในระหว่างการตั้งครรภ์ควรงดอาหารประเภทดังกล่าวข้างต้น

ตารางแสดงปริมาณโปรตีนจากธัญพืช

ธัญพืช ปริมาณโปรตีน (g)
นมถั่วเหลือง 1 แก้ว 8
Firm Tofu 4 oz (1/2 cup) 10
เห็ด 1 ถ้วยตวง 3
ควินัว 1 ถ้วยตวง 9
Broccoli 1 ถ้วยตวง 5
งา 1 oz 6.5
ถั่วเหลือง 1 ถ้วยตวง 28
ถั่วแดง 1 ถ้วยตวง 13
เมล็ดทานตะวัน 100 g 19

โดยสรุปอาหารเจที่ควรหลีกเลี่ยงในสตรีตั้งครรภ์คืออาหารจำพวกของทอดของมันและอาหารที่มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลสูง นอกจากนี้สตรีตั้งครรภ์ควรได้รับสารอาหารและวิตามินให้ครบถ้วนโดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรตีนซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์

ข้อมูลโดย

พญ.ลินลดา วิจักขณ์อุรุโรจน์
สูตินรีแพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
ประจำศูนย์สุขภาพหญิง

ปรึกษาแพทย์ออนไลน์ (ไม่เสียค่าใช้จ่าย)

    ชื่อ

    นามสกุล

    Email

    เบอร์โทร

    ข้อความ

    Start typing and press Enter to search