การใส่สายคาปัสสาวะ คือ การสอดใส่ สายยางสำหรับสวนปัสสาวะ ที่ปลอดเชื้อ แบบมีลูกโป่งที่ปลายสาย ผ่านปากช่องท่อ ปัสสาวะ เข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ แล้วจะใส่น้ำปราศจากเชื่อเข้าไปทางท่อที่ทำให้ลูกโป่งพองออกมาสายสวนจึงเลื่อนออกมาไม่ได้ ทำให้น้ำปัสสาวะไหลออกมาได้

เหตุใดที่ควรใส่สายสวนคาปัสสาวะ

  1. เพื่อระบายให้ปัสสาวะไหลออกมาได้สะดวกในผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องการควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะ
  2. เพื่อประเมินการทำงานของไต ในผู้ป่วยที่ผ่าตัดใหญ่ หรืออยู่ภาวะช็อค
  3. เพื่อป้องกันการปนเปื้อน หรือติดเชื้อในผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว มีแผล ขนาดใหญ่ ที่บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ แผลที่ก้น

การดูแลผู้ที่ใส่สายสวนปัสสาวะคาไว้ จะต้องได้รับการดูแลและทำความสะอาด อย่างเหมาะสม และถูกต้องต้อง ซึ่งการทำความสะอาดจะต้องทำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น เพื่อลดโอกาสเสี่ยงในการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ

ขั้นตอนการปฏิบัติ

  1. ต้องดูแลให้สายสวนและถุงปัสสาวะ อยู่ในระบบปิดตลอดเวลา
  2. ถุงปัสสาวะต้องยู่ระดับต่ำกว่า ระดับเอวหากต้องยกสูงให้หักพับสายก่อน
  3. กระตุ้นให้ผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหวบ่อยๆ หากมีข้อจำกัดให้ตะแคงตัวแทน ระวังอย่าให้สายปัสสาวะหัก พับงอซึ่งอาจจะเกิดจากการนอนทับ
  4. แนะนำให้ดื่มน้ำวันหละ 2,500-3,000 ซีซี (ในกรณีที่ ไม่มีข้อจำกัดเรื่องการดื่มน้ำ)
  5. ผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว อาจต้องผูกยึดเพื่อไม่ให้ผู้ป่วยดึงสายสวนปัสสาวะและต้องคอยสังเกตไม่ให้มีรอยแผลจากการผูกยึด
  6. สังเกตลักษณะสีกลิ่น หากตะกอนเกาะสายหรือถุงปัสสาวะให้เปลี่ยนสายและถุงใหม่ที่โรงพยาบาล
  7. ถ้าปัสสาวะขุ่น หรือมีไข้ให้พบแพทย์
  8. ควรเปลียนสายสวนทุก 2 สัปดาห์ – 1 เดือน ที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน ส่วนถุงปัสสาวะ ให้เปลี่ยนเมื่อ ถุงเริ่มสกปรก
  9. การล้างทำความสะอาดโดยการฟอกสะบู่ ดึงหนังหุ้มปลายลงฟอกให้สะอาดอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ต้องระวังการดึงรั้งสายสวน และดึงหนังหุ้มปลายขึ้นทุกครั้งหลังทำความสะอาด

อาการผิดปกติที่ควรสังเกต

  1. กลิ่น แสดงถึงอาจมีการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อชนิดอื่นๆ
  2. รูเปิดท่อปัสสาวะ บวม แดง และมีหนองซึมออกมาอาจแสดงถึง มีการทำความสะอาดไม่ดี หรือมีการติดเชื้อ
  3. มีไข้ แสดงถึงการติดเชื้อ ระบบทางเดินปัสสาวะ ปัสสาวะรั่วไหล อาจแสดงถึงสายปัสสาวะ มีการขัดข้อง

Start typing and press Enter to search