การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด และการฟื้นฟูทำกายภาพบำบัดหลังผ่าตัดที่ดีส่งผลให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้งานข้อเข่าได้อย่างปกติ มีคุณภาพชีวิตที่ดีสมวัย ซึ่งท่าบริหารหลังการผ่าตัด จำเป็นต้องเป็นท่าที่เหมาะสมเนื่องจากยังมี อาการการเจ็บจากการผ่าตัดอยู่ เพื่อความปลอดภัยในการเคลื่อนไหวของผู้ป่วย แพทย์และนักกายภาพบำบัดจึงเข้ามาดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด

กายภาพบำบัดในช่วงแรกหลังจากการผ่าตัด

อาการบวมตึงและปวดข้อเข่าเกิดขึ้นได้ในช่วงแรกหลังการผ่าตัด นอกจากการใช้ยาแล้วการทำกายภาพบำบัด โดยการประคบแผ่นเย็น การบริหารเกร็งกล้ามเนื้อรอบๆ ข้อเข่า ร่วมกับการกระดกปลายเท้า หรือการช่วยขยับข้อเข่า งอเหยียดเบาๆ ในช่วงการเคลื่อนไหวที่ไม่รบกวนอาการปวด เป็นการเตรียมใช้เครื่อง Conhnuous Passive Mohon กล้ามเนื้อบริเวณต้นขามีความแข็งแรง ก่อนที่จะเริ่มให้ผู้ป่วยลุกขึ้นยืนและ

กายภาพบำบัดในช่วงที่สามารถลุกนั่งได้แล้ว

เมื่อผู้ป่วยสามารถลุกนั่งบนเตียงได้ เพื่อให้การฟื้นฟูสภาพร่างกายและข้อเข่าที่ผ่าตัด หายได้เร็วขึ้น จะเริ่มกายภาพบำบัดบริหารข้อเข่าโดยงอและเหยียดเข่าทั้งสอง ข้างบนเตียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งขาข้างที่ทำผ่าตัด การทำเช่นนี้จะช่วยให้ข้อเข่ายืดเหยียดป้องกันข้อเข่ายึดติด และทำให้กล้ามเนื้อรอบข้อเข่าแข็งแรง

กายภาพบำบัด ด้วยการหัดเดินด้วยวอคเกอร์ (Walker)

นักกายภาพบำบัดจะให้ผู้ป่วยหัดยืนและเดินด้วยวอคเกอร์ โดยที่นักกายภาพบำบัด จะคอยอยู่ใกล้ๆ เพื่อความปลอดภัย เริ่มต้นด้วยการเดินรอบเตียง และเพิ่มระยะการเดินรอบเตียง หรือบริเวณในห้องพักของผู้ป่วยมากขึ้น กระทั่งเดินได้มั่นคงขึ้น จึงฝึกขึ้นลงบันไดได้ดี แพทย์จึงให้กลับบ้าน เฉลี่ยอยู่ในช่วง 4-7 วันแล้วแต่อาการของผู้ป่วยแต่ละคน

ขั้นตอนการเดินด้วยวอคเกอร์ผู้ป่วยควรยกวอคเกอร์ไปด้านหน้าพอประมาณแล้วค่อยก้าวขาที่ดีมาข้างหน้าและใช้วอคเกอร์ช่วยรับน้ำหนักแล้วจึงก้าวขาข้างที่ผ่าไปให้เท่ากับขาข้างปกติ

การปฏิบัติตัวเมื่อผู้ป่วยผ่าตัดข้อเข่ากลับไปอยู่บ้าน

เมื่อแพทย์อนุญาตให้ผู้ป่วยกลับบ้าน สิ่งสำคัญคือการทำกายภาพอย่างต่อเนื่องโดยแพทย์และทีมนักกายภาพบำบัดจะให้คำแนะนำตามความเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย เพื่อให้กล้ามเนื้อรอบข้อเข่าแข็งแรงขึ้น  เพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อขา และการเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวของข้อเข่าเทียมให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้งานข้อเข่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถกลับไปทำกิจวัตรประจำวันให้ได้ ดังนั้นผู้ป่วยจึงควรปฏิบัติตนตามคำแนะนำของนักกายภาพบำบัดอย่างเคร่งครัด

สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่ผู้ป่วยและผู้ดูแลควรให้ความสำคัญคือการเตรียมสภาพแวดล้อมที่บ้านให้พร้อม เช่น เตรียมห้องนอนผู้ป่วยให้อยู่ชั้นล่าง หลีกเลี่ยงการเดินขึ้นลงบันไดในรายที่เสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม ควรใช้ส้วมที่เป็นชักโครก รวมถึงดูแลแผลผ่าตัด ป้องกันแผลติดเชื้อและเข้าพบแพทย์ตามนัดหมาย

การออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา

ประมาณ 2-6 เดือนหลังผ่าตัดผู้ป่วยเริ่มจะคุ้นชินกับข้อเข่าเทียม และสามารถงอเข่าได้ 120-140 องศา และมีความมั่นคงในการเดิน การขึ้นลงบันได ก้าวขาสลับได้

สำหรับกีฬาที่แนะนำคือ เดินเร็ว ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน เล่นกีฬาที่ไม่ใช้แรงข้อเข่ามาก ๆ อย่างแบดมินตัน เทนนิส และไม่ควรยกหรือแบกของหนัก  การนั่ง พับเพียบ ขัดสมาธิ คุกเข่า เนื่องจากจะทำให้ข้อเข่าเทียมต้องรับแรงกระแทก ส่งผลทำให้อายุการใช้งานของข้อเข่าเทียมลดลง หากฝึกกายภาพบำบัด หรือออกกำลังกายแล้วเกิดอาการปวด เจ็บกล้ามเนื้อ เจ็บข้อต่างๆ ที่รวมถึงข้อเข่าที่ผ่าตัด ต้องรีบหยุดพักทันที ในกรณีที่ปวด เจ็บเกิน 1-2 วัน ควรรีบมาพบแพทย์

ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด โรงพยาบาลพญาไท 3 ชั้น 16
เปิดบริการทุกวัน เวลา 08.00 – 19.00 น.
Phyathai Call Center 1772 หรือ
โทร. 0-2467-1111 ต่อ 1603 และ 1602

ปรึกษาแพทย์ออนไลน์ (ไม่เสียค่าใช้จ่าย)

    ชื่อ

    นามสกุล

    Email

    เบอร์โทร

    ข้อความ

    Start typing and press Enter to search