อุบัติเหตุจากยวดยานพาหนะมีการเก็บข้อมูลเป็นสถิติโดยศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุ ได้ระบุว่าในแต่ละวันที่อุบัติทางถนนเกิดขึ้นวันละหลายพันราย และมีจำนวนไม่น้อยที่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต ในขณะที่อีกส่วนหนึ่งแม้จะไม่อันตรายถึงชีวิตแต่ก็ประสบกับอาการบาดเจ็บ ฟก ช้ำ หรือเป็นแผลฉกรรจ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากรถจักรยานยนต์ บาดแผลที่เกิดขึ้นโดยร่างกายสัมผัสพื้นถนนโดยตรงและรุนแรงนั้น ควรอย่างยิ่งที่จะต้องดูแลรักษาเป็นอย่างดีและที่สำคัญต้องทำอย่างถูกวิธี

หากรุนแรงกว่ารอยถลอกฟกช้ำเล็กน้อย การเข้ารับการรักษาโดยแพทย์นั้นสำคัญที่สุด ด้วยเครื่องมือที่พร้อมและอุปกรณ์ปลอดเชื้อที่ทางโรงพยาบาลมีไว้พร้อมสรรพ จะช่วยให้บาดแผลหายได้เร็วยิ่งขึ้น

หลังจากการห้ามเลือด การล้างแผลด้วยน้ำปะปานั้นยังไม่ถูกต้องเท่าไรนัก เพราะส่วนผสมจำพวกสารละลายไฮโปโทนิกที่อยู่ในน้ำปะปานั้นมีความเข้มข้นต่ำกว่าน้ำในเซลล์ของร่างกายคนเรา และอาจไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดและเซลล์เนื้อเยื่อสร้างใหม่ เช่นเดียวกับการล้างแผลด้วยแอลกอฮอล์ที่ใช้กันมาตลอดนั้นก็ถือเป็นการใช้งานผิดประเภทอีกเช่นกัน เพราะแอลกอฮอล์ที่ว่านั้นเหมาะกับการใช้เฉพาะจุด เช่น การเช็ดทำความสะอาดบริเวณรอบ ๆ แผลเท่านั้นไม่ใช่สัมผัสแผลโดยตรง ซึ่งนอกจากจะทำให้เราแสบร้อนแล้ว แอลกอฮอล์ยังมีฤทธิ์ไปทำลายโปรตีนในเนื้อเยื่อ เป็นเหตุให้แผลนั้นหายช้ามากขึ้นอีกด้วย

การใช้น้ำเกลือสำหรับล้างแผลโดยเฉพาะ เช่นเดียวกับที่โรงพยาบาลใช้คือวิธีการที่ดีที่สุด และในปัจจุบัน น้ำเกลือล้างแผลยังหาซื้อได้ง่าย ถูกคิดค้นออกมาเฉพาะให้มีระดับโซเดียมคลอไรด์ 0.9% มีความสมดุลกับระดับน้ำในเซลล์ร่างกาย อีกทั้งยังไม่ทำให้แสบแผลอีกด้วย ที่สำคัญควรสังเกตขวดน้ำเกลือที่มีฝาปิดสนิท และหากเปิดใช้แล้ว ควรใช้ให้หมดภายใน 30 วัน

จากนั้นให้ใช้ยารักษาแผลจำพวก โพวิโดน-ไอโอดีน ซึ่งออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด และหากเป็นไปได้ ควรปล่อยแผลให้เปิดโล่งช่วยให้แผลแห้งและหายเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งนอกจากการรักษาจากภายนอกแล้ว การรับประทานอาหารที่ถูกต้องยังช่วยให้ร่างกายรักษาแผลจากภายในได้อีกทางหนึ่ง โดยในกลุ่มอาหารจำพวกโปรตีนจะคอยสร้างเนื้อเยื่อให้เซลล์แต่ละเซลล์ประสานกันได้เร็วขึ้น ส่วนวิตามินซีทำหน้าที่สร้างผนังเซลล์ ช่วยให้เส้นเลือดฝอยแข็งแรง เลือดไหลเวียนได้ดี รวมถึงอาหารที่มีส่วนประกอบของธาตุสังกะสี (Zinc) จะช่วยให้ร่างกายจับวิตามินจากอาหารได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

ในท้ายที่สุด การรักษาตัวให้อยู่ห่างไกลจากความเสี่ยง และป้องกันอุบัติเหตุเอาไว้ก่อนที่จะต้องมารักษาทีหลังนั้นที่เป็นทางเลือกที่ดีที่สุด

ปรึกษาแพทย์ออนไลน์ (ไม่เสียค่าใช้จ่าย)

    ชื่อ

    นามสกุล

    Email

    เบอร์โทร

    ข้อความ

    Start typing and press Enter to search